การดำรงอยู่ของผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย : บทวิเคราะห์เศรษฐกิจวัฒนธรรม

Main Article Content

สุภัทณี เปี่ยมสุวรรณกิจ

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำรงอยู่ ของผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย และเพื่อศึกษารูปแบบเศรษฐกิจวัฒนธรรมของผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาพบว่าการที่ ผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงรายสามารถดำรงอยู่ได้เนื่องจากมีปัจจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนดังนี้



     ผ้าทอไทลื้อมีคุณค่าทางวัฒนธรรมในระบบเศรษฐกิจ 3 ด้านดังนี้คือ ในด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม ซึ่งเศรษฐกิจวัฒนธรรมไทลื้อจะดำรงอยู่ได้ต้องได้รับการสนับสนุน 3 ประการดังนี้คือ การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน และการสนับสนุนจากชุมชน และเพื่อให้ผ้าทอไทลื้อสามารถดำรงอยู่ได้ในปัจจุบันและอนาคต จะต้องดำรงรักษาไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ โดยวัฏจักรการดำรงอยู่ของผ้าทอไทลื้อในฐานะเป็นเศรษฐกิจวัฒนธรรมจะดำรงอยู่ได้จะต้องดำเนินการให้ครบวัฏจักรวัฒนธรรมซึ่งประกอบไปด้วยการดำเนินการดังต่อไปนี้ 1. การสร้างสรรค์ 2.การบริโภค การผลิต การมีส่วนร่วม 3.การเผยแพร่และการจัดนิทรรศการ



     รูปแบบเศรษฐกิจวัฒนธรรมของผ้าทอไทลื้อในจังหวัดเชียงราย คือการมีทุนวัฒนธรรม มีปราชญ์ชุมชน มีกระบวนการสืบทอดถ่ายทอดองค์ความรู้ มีการปรับตัว นำเอาความคิดสร้างสรรค์ในใส่การผลิต และการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน อีกทั้งมีการเผยแพร่จัดนิทรรศการส่งผ่านไปยังคนรุ่นหลังต่อไป

Article Details

บท
บทความ

References

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2558). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรมและโอกาสทางธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2558. จากhttp://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_11/pdf.

โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา.(2551).ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ไท.สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา.(2546). โครงการวิจัยเรื่องเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านไทย.กรุงเทพฯ:สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
.(2546). ผ้าทอไทลื้อ : การจัดการธุรกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุน
การวิจัย.

มิ่งกมล หงษาวงศ์. (2557). ไทลื้อ :วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2, ก.ค.-ธ.ค. 2557.

วิมลสิริ รุจิภาภาสพรพงศ์. (2550). การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน : กรณีศึกษาการทำข้าวหลามในชุมชนพระงาม จังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2552). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ :รายงานการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Scott, Allen J. (1997). The cultural economy of cities. International journal of urban and regional research 21.2.1997: 323-339.