การพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายโดยใช้ การเรียนการสอนแบบกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยใช้การเรียนการสอนแบบกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา EPC 2401 จิตวิทยาสำหรับครู ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 กลุ่มเครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนการสอน แบบกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม ประกอบด้วย 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นการให้ผู้เรียนเผชิญปัญหา หรือสถานการณ์ที่ชวนให้สงสัย ขั้นการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหานั้น ขั้นการวางแผนเพื่อแสวงหาความรู้ ขั้นดำเนินการแสวงหาความรู้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล การนำเสนอและอภิปรายผล และขั้นให้ผู้เรียนสรุปประเด็นปัญหาที่ต้องการสืบเสาะและหาคำตอบต่อไป แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประกอบด้วย ด้านความเป็นผู้นำ ด้านใฝ่รู้ ด้านการคิด และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มวิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และนักศึกษาโปรแกรมวิชาสังคมศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย หลังการจัดการเรียนการสอนแบบกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001การที่ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทั้งด้านความเป็นผู้นำ ด้านใฝ่รู้ และด้านการคิด เพราะวิธีการที่นำมาใช้ครั้งนี้เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ ทั้งการสืบค้น การคิดวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสืบสอบ กระบวนการทำงานร่วมกัน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการนำเสนอประเด็นปัญหาที่ท้าทายและมีความหมายต่อผู้เรียน ส่วนหลังการจัดการเรียนการสอน พบว่า นักศึกษาทั้งสองโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งด้านความเป็นผู้นำ ด้านใฝ่รู้ และด้านการคิด เนื่องมาจากเป้าหมายของทั้งสองหลักสูตรเน้นทักษะทำงานกลุ่ม ทักษะการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การหาข้อสรุปหรือคำตอบอย่างมีเหตุผล นอกจากนี้ยังพบว่า หลังการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาทั้งสองโปรแกรมวิชามีความเห็นด้วยกับวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม ทั้งในภาพรวม ด้านบทบาทผู้สอน ด้านบทบาทของนักศึกษา และด้านกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในระดับเห็นด้วยมาก เนื่องจากนักศึกษาได้มีอิสระในการเป็นผู้แสวงหาข้อมูลและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยกระตุ้นให้คิด
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
ของนักศึกษาที่เรียนวิชาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงราย : เชียงราย.
วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และ อมลวรรณ วีระธรรมโม. (2550). การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมอง
สำหรับครูมืออาชีพ. สงขลา : เทมการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
______ . (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี 2553.
อรุณศรี สีหปัญญา. (2557). ผลของการเรียนรู้โดยการสืบเสาะแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านด่านจาก จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อุบล กลิ่นหอม. (2551). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์หลักสูตปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและ
การสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Joyce & Weil. (1996). Sci-Teaching model. Retrieve 15th January 2016 . From : http://tishafan-
nnn.blogspot.com/p/process-skill.html.
Muchinsky, P.M. (2003). Psychology applied to work : an introduction to industrial and
organizational psychology. (7th ed). North Carolina : Thomson Wadsworth.