การบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษาเอกชน เขตภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน เขตภาคเหนือตอนบน และเสนอแนะการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน เขตภาคเหนือตอนบน ประชากร คือ ผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการ ปีการศึกษา 2555 จำนวน 27 สถานศึกษา จำนวน 135 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติพรรณาวิเคราะห์ คือ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า ระดับโอกาสเกิดความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน เขตภาคเหนือตอนบน ของทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผนและการจัดการองค์กรด้านการจัดหาและการนำระบบออกใช้จริง ด้านการส่งมอบและบำรุงรักษา และด้านการติดตามผลและประเมินผล เมื่อพิจารณาภาพรวมและรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับน้อย ทุกด้าน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ควรมีการวางแผนด้านยุทธศาสตร์ และบุคลากร เพื่อให้การดำเนินงานด้านเทคโนโลยีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองลงมาคือ ควรมีการจัดสรรและควบคุมงบประมาณในการสนับสนุนงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรจัดสรรอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ ให้เพียงพอแก่การใช้งานให้สอดคล้องกับความต้องการในการใช้งาน ควรมีการประเมินผลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อให้การติดตามและประเมินผลตรงตามสภาพ และควรมีการรายงานผลจากการประเมิน
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
จิตสุภัค ปราณีสุทธิกุล. (2556). การพัฒนาระบบติดตามและควบคุมโครงการตามกรอบมาตรฐานของซีเอ็มเอ็มไอ ระดับที่ 2 ร่วมกับมาตรฐานโคบิต : กรณีศึกษาบริษัท โมโนทราเวล จำกัด. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ชลลดา คล้ายคลึง. (2551). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงองค์กรของวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. งานวิจัย วิทยาลัยวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.
นงลักษณ์ กอศรีลบุตร. (2549). การนำมาตรฐาน COBIT มาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา : ผู้ประกอบธุรกิจทางการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) แห่งหนึ่ง. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นฤมล บินหะอายีวัง. (2553). ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้บริหารโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลาม เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริลักษณ์ โรจน์วงษ์วิริยะ. (2549). การศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบงานโดย COBIT และ ITIL กรณีศึกษา บริษัทบริหารสินทรัพย์. การค้นคว้าอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. (2555).หนังสือการประชุมใหญ่สามัญประจำปี
ครั้งที่ 37 พ.ศ. 2555. กรุงเทพ: บริษัท มิสชั่นมีเดีย จำกัด.
เสนาะ ติเยาว์. (2546). การบริหารกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุมนา เสือเอก. (2553). การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนใน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แผนบริหารความเสี่ยงประจำปี 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2554 – 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อุทิศ ขาวเธียร. (2549). การวางแผนกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.