อิทธิพลของการบริหารงบประมาณที่มีต่อประสิทธิผลการดำเนินงาน ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอิทธิพลของการบริหารงบประมาณที่มีต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการบริหารงานภายในองค์การ การติดต่อสื่อสาร การกำหนดเป้าหมายตามงบประมาณที่เหมาะสม แผนงานที่ยืดหยุ่นได้ และการติดตามผลการปฏิบัติงาน โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย จำนวน 370 ราย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์สหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างตัวแปร และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงบประมาณมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการบริหารงานภายในองค์การ การติดต่อสื่อสาร การกำหนดเป้าหมายตามงบประมาณที่เหมาะสม แผนงานที่ยืดหยุ่นได้ และการติดตามผลการปฏิบัติงาน (r = .498, .446, .506, .591 และ .500 ตามลำดับ) การบริหารงบประมาณที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย มีจำนวน 4 ตัวแปร ซึ่งตัวแปรที่ดีที่สุด คือ แผนงานที่ยืดหยุ่นได้ การกำหนดเป้าหมายตามงบประมาณที่เหมาะสม การติดต่อสื่อสาร และการติดตามผลการปฏิบัติงาน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (β) เท่ากับ .305, .171, .180 และ .138
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนภร เอกเผ่าพันธุ์. (2553). การวางแผนและควบคุมงบประมาณ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส.
นิสากร เศรษฐวรางกูร. (2549). การศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการสื่อสารภายในองค์กร กรณีศึกษาบริษัท มิตซุย สุมิโดโม อินชัวรันซ์จํากัด สาขาประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บังอร ฉัตรรุ่งเรือง และ วรพล วัฒนเหลืองอรุณ. (2547.) การบริหารและการจัดการงานโรงแรม.กรุงเทพฯ : เพียร์สัน
เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.
พิทักษ์ แสวง. (2554). ผลกระทบประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณที่มีต่อผลการดำเนินงานของธนาคารออมสิน.
วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบัญชี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เมธสิทธ์ พูลดี. (2550). การบัญชีบริหาร.กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น.
เมธากุล เกียตริกระจาย และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2552). การบัญชีเพื่อการวางแผนและควบคุม.กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน
ทีพีเอ็นเพรส.
รภัส ศิลป์ศรีกุล. (2547). การศึกษาโครงสร้างตลาดและกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานคร. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การประกอบกิจการโรงแรมและเกสต์เฮาน์ พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2558.
จาก : http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/questFullReport57.pdf,2558
อรชร โพธิสุข และมารวย ผดุงสิทธิ์. (2544). การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
Black,K. (2006). Business statistic for contemporary decision making. 4th ed. USA : John Wiley & Son.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (3rded.). New York: Harper and Row.