ยุทธศาสตร์การพัฒนาความมั่นคงด้านสุขภาพมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก

Main Article Content

ศิริรัตน์ ภู่เกตุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research development) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี 2) เพื่อสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาความมั่นคงด้านสุขภาพในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกและ 3) เพื่อทดลองยุทธศาสตร์การพัฒนาความมั่นคงด้านสุขภาพในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลอุทัยธานี จำนวน 25 คนซึ่งได้มาจากการเลือกแบบ เจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบประเมินความพึงพอใจผู้มารับบริการฝากครรภ์ 2) แบบประเมินความเครียด 3 ) แบบสอบถาม เจตคติทักษะและพฤติกรรมการดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด 4) แบบทดสอบผลฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 5) แบบสอบความมั่นคงด้านสุขภาพในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก 6) คู่มือการพัฒนาความมั่นคงด้านสุขภาพรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Pair T-test dependent ผลการวิจัยพบว่า
   1.มารดาวัยรุ่นครรภ์แรก อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี มีปัญหาด้านร่างกายจิตใจและสังคม เนื่องจากสภาพร่างกายยังไม่พร้อมกับสภาพการตั้งครรภ์จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและเสี่ยงต่อการตายของทารกถ้าไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องระหว่างตั้งครรภ์ ส่วนด้านจิตใจ การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ไม่ได้วางแผนมาก่อนทำให้เกิดความวิตกกังวล ความเครียด ความเศร้าใจ การไม่ยอมรับจากสังคมครอบครัว เมื่อมาฝากครรภ์เจ้าหน้าที่มีไม่มากพอขาดความละเอียดอ่อนในการให้บริการ และขณะด้านสังคมพบว่าขาดแรงสนับสนุนทางสังคมที่ดีทำให้เกิดปัญหาการปรับตัวด้านต่าง ๆ ตลอดจนการยอมรับบทบาทมารดา
   2. ผลการสร้าง ยุทธศาสตร์การพัฒนาความมั่นคงด้านสุขภาพในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกประกอบด้วย 3 หน่วยระบบดังนี้ 1) พัฒนาระบบบริการฝากครรภ์ 2) พัฒนาความรู้เจตคติและทักษะการดูแลระหว่างตั้งครรภ์ 3) พัฒนาการสนับสนุนทางสังคม
   3. ผลการทดลองยุทธศาสตร์ได้ทำการประเมินผล 3 ด้านดังนี้
   1 ) ด้านความพึงพอใจซึ่งวัดจากการมารับบริการในการบริการฝากครรภ์มารดาวัยรุ่นครรภ์แรก อยู่ในระดับมาก (4.87 0.33) คือ ด้านคุณภาพการให้บริการ (4.83 0.37) ด้านความเชื่อมั่นในจริยธรรมบริการ (4.90 0.29) และด้านบุคลากรที่ให้บริการ (4.88 0.33) ด้านความเครียด พบว่า มารดาวัยรุ่นครรภ์แรกมีระดับความเครียดลดลง (1.54 0.71) หลังเข้ารับคำปรึกษาในระยะ 6 เดือน ที่ผ่านมา
   2 ) ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองซึ่งเป็นพฤติกรรมในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด ที่มารับคำปรึกษาของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (4.37 1.35) และ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ 0.05
   3) ด้านการพัฒนาความมั่นคงในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกโดยวัดจากการมีความพร้อมที่จะเป็นมารดาที่ดีและปรับตัวต่อบทบาทมารดาได้หลังได้รับคำปรึกษา (4.05 0.88) พบว่า เกิดความเชื่อในสมรรถนะแห่งตนในระดับดีมาก (4.38 1.48) ยอมรับบทบาทมารดาในระดับดีมาก (4.01 0.55) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดขณะที่ แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลใกล้ชิด และแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรการแพทย์ (3.75 0.93)โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อรายการ
   การพัฒนาความมั่นคงด้านสุขภาพในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ความเป็นแม่ให้สามารถเลี้ยงดูบุตรเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพได้นั้นจะต้อง มีความรู้ในการดูแลตนเองและบุตรมี ความเชื่อในสมรรถนะแห่งตน ต้องยอมรับบทบาทการเป็นมารดา รวมทั้งต้องมีการสนับสนุนทางสังคมของบุคคลใกล้ชิดตลอดจนแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลากรทางการแพทย์ในการดูแลด้านจิตใจ ด้านโภชนาการ เนื่องจากมารดาวัยรุ่นมีปัญหาในการรับประทานอาหารไม่ถูกส่วนและอาหารที่ไม่มีประโยชน์ซึ่งส่งผลกระทบต่อทารกและมารดาโดยตรง ควรตระหนักและรีบช่วยกันแก้ไขเพื่อมารดาตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพทั้ง กาย จิต สังคมและทารกเกิดมาสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลียว บุรีภักดี. (2550). ชุดการศึกษาค้นคว้ารายวิชา เทคนิควิธีในการวิจัยและพัฒนา. เอกสารประกอบการเรียนการสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

จุไรรัตน์ มีทิพย์กิจ. (2547).พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองหลังคลอดของมารดาครรภ์แรก. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน.บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทัศนา หลีค้วน. (2539). ผลการให้ความรู้แก่มารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรกโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความรู้ และการตอบสนองสื่อสัญญาณทารก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลครอบครัว. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรพิมล ภูมิฤทธิกุล. (2552). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของมารดาวัยรุ่นในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปกร.

สุธาทิพย์ สุทธิ. (2554). ศึกษาบริการสังคมสำหรับ มารดาวัยรุ่นในทัศนะของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย. : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.กรุงเทพฯ.