ยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีประสิทธิผลในศาลแขวงนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลแขวงนครสวรรค์ 2. กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลแขวงนครสวรรค์ และ 3. ทดสอบประสิทธิผลของยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีประสิทธิผลในศาลแขวงนครสวรรค์เพื่อลดคดีขึ้นสู่ศาลแขวงนครสวรรค์น้อยลง เป็นการวิจัยและพัฒนา (The Research and Development: R&D) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยกำหนดกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลแขวงนครสวรรค์ จำนวนทั้งสิ้น 176 คน ได้มาจากการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าประสิทธิภาพของหลักสูตรการฝึกอบรม (E1/E2) วิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้t-test และกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ พบว่า 1) ปัญหา อุปสรรค และรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลแขวงนครสวรรค์ ซึ่งสำนักงานศาลแขวงนครสวรรค์ไม่ได้วางกรอบอัตรากำลัง ซึ่งการสรรหา คัดเลือกผู้ไกล่เกลี่ยนั้นสำหรับกระบวนการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ย พบว่า สำนักงานศาลยุติธรรมพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยด้วยการฝึกอบรมทักษะขั้นพื้นฐาน ซึ่งหลักสูตรฝึกอบรมที่ผ่านมาพบจุดอ่อนว่าหลักสูตรเน้นอธิบายทฤษฎีมากเกินไปและขาดความต่อเนื่องสำหรับประสิทธิผลในการไกล่เกลี่ยนั้นมีผลชี้วัด 4 ประการ คือ (1) สัดส่วนของปริมาณคดีเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยต่อจำนวนคดีขึ้นสู่ศาลทั้งหมดนั้นพบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี (2) สัดส่วนของปริมาณคดีที่ไกล่เกลี่ยสำเร็จต่อปริมาณคดีที่เข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ยทั้งหมด พบว่า ในคดีแพ่งจะมีอัตราการไกล่เกลี่ยสำเร็จมากกว่าคดีอาญาทุกปี (3) สัดส่วนของปริมาณคดีคงค้างต่อปริมาณคดีที่เข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลพบว่า ปริมาณคดีคงค้างยังไม่บรรลุเป้าหมายทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา และ (4) มาตรฐานการปฏิบัติตามขั้นตอนที่ครบถ้วนในกระบวนการไกล่เกลี่ย พบว่า ผู้ไกล่เกลี่ยมีมาตรฐานในการปฏิบัติตามขั้นตอนแต่ขาดองค์ความรู้ทักษะและกลยุทธ์ในการไกล่เกลี่ยให้มีประสิทธิผล 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีประสิทธิผลในศาลแขวงนครสวรรค์ ประกอบด้วย 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การสรรหาผู้ไกล่เกลี่ย (2) ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ย และ (3) ยุทธศาสตร์การนำทักษะและองค์ความรู้ไปปฏิบัติ 3) ผลการทดลองใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีประสิทธิผลพบว่า หลักสูตรฝึกอบรม “ทักษะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีประสิทธิผล”มีประสิทธิภาพเท่ากับ (E1/E2=86.62/85.38) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80 และคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนทดลองและหลัง ทดลองมีประสิทธิผลทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินการฝึกอบรมหลักสูตร “ทักษะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีประสิทธิผล”โดยผู้ประนีประนอมที่ได้รับการฝึกอบรมตลอดระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า (1) การประเมินประสิทธิผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ประนีประนอมหลังได้รับการฝึกอบรมแล้วนำรูปแบบการไกล่เกลี่ยไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ผลการประเมินความพึงพอใจของคู่ความที่มีต่อการปฏิบัติงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของผู้ประนีประนอมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า บรรลุความสำเร็จโดยสันติวิธีและลดคดีขึ้นสู่ศาลแขวงนครสวรรค์ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05(4) ผลการตรวจสอบยุทธศาสตร์การพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีประสิทธิผลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิทุกยุทธศาสตร์มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ คิดเป็นร้อยละ 100 และสามารถนำรูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีประสิทธิผลในศาลแขวงนครสวรรค์ และนำไปปฏิบัติได้จริงเมื่อผลการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลที่เกิดขึ้น ดังนั้นการนำไปปฏิบัติย่อมส่งผลสำเร็จต่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลแขวงนครสวรรค์ และนำไปเผยแพร่กับผู้ปฏิบัติหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างแน่นอน
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
ชนิดา ทองมณโฑ. (2552). รูปแบบการไกล่เกลี่ยของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประสิทธิ ดวงตะวงษ์. (2553). ประสิทธิผลกระบวนการสร้างและพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยและการดำเนินงานของศาลยุติธรรมไทย. หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2549). การประเมินประสิทธิผลของระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ที แอนด์เคพริ้นติ้ง.
วงศ์วศิษฎ์ วรกิจโสภณไพศาล. (2552). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งก่อนเสนอคดีต่อศาล.วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีประทุม วิทยาลัยเขตชลบุรี.
ศาลแขวงนครสวรรค์ สำนักงาน. (2554). ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพ.ศ. 2544. นครสวรรค์ : สำนักงานศาลแขวงนครสวรรค์.
อัครศักย์ จิตธรรมมา. (2551). การพัฒนาระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลยุติธรรมของประเทศไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.