ภาวการณ์คงอยู่และสูญหายของภาษาถิ่น : กรณีศึกษาภาษาจีนยูนนาน ในอำเภอแม่สลอง จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย

Main Article Content

Wang Nanqi

บทคัดย่อ

  การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวการณ์คงอยู่และสูญหายของภาษาถิ่นจีนยูนนาน ในอำเภอแม่สลอง จังหวัดเชียงราย เพื่อหาคำตอบสมมุติฐานของภาวการณ์คงอยู่และสูญหายของภาษาถิ่นจีนยูนนาน และเพื่อศึกษาถึงสถานการณ์การใช้ภาษาถิ่นจีนยูนนานในอำเภอแม่สลอง ตามเอกสารงานวิจัยซึ่งได้ทำการศึกษาโดย UNESCO ซึ่งได้ศึกษาถึงปัจจัยหลัก 5 ประการได้แก่ การสืบทอดภาษาจากรุ่นสู่รุ่น แบบแผนของบริบทที่ใช้ภาษา การปฏิสัมพันธ์กันของบริบทและสื่อ ทัศนคติ นโยบายของรัฐต่อการใช้ภาษา และทัศนคติของคนในชุมชนต่อการใช้ภาษา
   การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสำรวจ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์และการบันทึกเสียง โดยมีการสุ่มตัวอย่าง และคัดเลือกผู้ให้ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่าประชากรทั้ง สามรุ่นมีสภาวการณ์คงอยู่และสูญหายของภาษาจีนยูนนานคิดเป็นร้อยละ 60,65 และ65 ตามลำดับ ภาษาจีนยูนนานถูกใช้ในทั้งสามรุ่น สำหรับทัศนคติในการใช้ภาษาถิ่น คนวัยกลางคนและวัยรุ่นมีทัศนตติต่อการใช้ภาษาถิ่นจีนยูนนาน คิดเป็นร้อยละ 60 และ 50 ตามลำดับ ส่วนผู้สูงวัยมีทัศนคติการใช้ภาษาถิ่นจีนยูนนาน เพื่อติดต่อกับเพื่อนถึง คิดเป็นร้อยละ 55 ผู้สูงวัยที่ไม่ได้มีการศึกษาที่สูง จะมีการใช้ภาษาถิ่นมากกว่าวัยอื่นๆ จึงไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในการใช้ภาษาถิ่นระหว่างเพศชายและเพศหญิง ผู้สูงวัยมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้ภาษาถิ่น มากกว่าวัยรุ่น ร้อยละ 90 ของประชากรมีการใช้ภาษาถิ่นยูนนานในชีวิตประจำวันและภายในครอบครัว
  จากผลการศึกษางานวิจัยจึงนี้ได้เสนอแนะว่าภาษาถิ่นจีนยุนนาน ควรได้รรับการอนุรักษ์และสืบทอดกันของชาวจีนในประเทศไทย ให้มีการช่วยกันพัฒนาและสร้างสรรค์ให้ดำรงคงอยู่ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

No author, March. (2003), Language Vitality and Endangerment, UNESCO, International Expert Meeting on UNESCO Programme Safeguarding of Endangered Languages, 6.

Baidu. (2011). Travel in Mae Salong. Retrieve from www.baidu.com/travelinmaesalong.com.