บทบาทชายหญิงและความเชื่อในนิทานชนเผ่า

Main Article Content

บุญทิวา สิริชยานุกุล

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์บทบาทชายหญิงและความเชื่อในนิทานชนเผ่า 6 ชนเผ่า ได้แก่ ชนเผ่าปกาเกอะญอ ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าเมี่ยน ชนเผ่าลาหู่ ชนเผ่าลีซู และชนเผ่าอาข่า จำนวน 280 เรื่อง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า บทบาทผู้ชายในนิทานชนเผ่า พบว่าบทบาทและสิทธิผู้ชายตามสถานภาพในด้านครอบครัว ปรากฏมากที่สุด รองลงมาคือบทบาทและสิทธิผู้ชายตามสถานภาพในด้านการประกอบอาชีพ บทบาทและสิทธิผู้ชายตามสถานภาพในด้านการศึกษา ตามลำดับ สำหรับบทบาทและสิทธิผู้ชายตามสถานภาพด้านสังคมและการเมือง ไม่ปรากฏในนิทานชนเผ่า บทบาทหญิงในนิทานชนเผ่า พบว่าบทบาทและสิทธิผู้หญิงตามสถานภาพในด้านครอบครัว ปรากฏมากที่สุด รองลงมาคือบทบาทและสิทธิผู้หญิงตามสถานภาพในด้านการประกอบอาชีพ สำหรับบทบาทและสิทธิผู้หญิงตามสถานภาพในด้านการศึกษา ในด้านสังคมและการเมือง ไม่ปรากฏในนิทานชนเผ่า
   การวิเคราะห์ความเชื่อในนิทานชนเผ่า พบว่า ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ภูตผีปีศาจ วิญญาณ ผีบรรพบุรุษ ปรากฏมากที่สุด รองลงมาคือ ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว กตัญญูรู้คุณ ความเชื่อเรื่องประวัติความเป็นมาของคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ ความเชื่อเกี่ยวกับนรก สวรรค์ ชาติภพ ตายแล้วเกิดใหม่ ความเชื่อเรื่องของวิเศษ ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ การดูฤกษ์ยาม การทำนายฝัน การพยากรณ์ ตามลำดับ สำหรับความเชื่อเรื่องสรรพคุณยากลางบ้าน และความเชื่อเรื่องบาปบุญ ไม่ปรากฏในนิทานชนเผ่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2538). การทำงานแนววัฒนธรรมชุมชนโดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง.กรุงเทพฯ: สภาคาทอลิก แห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.

จรัส พยัคฆราชศักดิ์. (2530). เอกสารประกอบการสอนไทยคดีศึกษาศาสนาและลัทธินิยมในท้องถิ่น. มหาสารคาม : ปรีดาการพิมพ์.

ชนะชัย ใจช่วย. (2551). บทบาทชายและหญิงในชีวิตประจำวันของชนเผ่าลีซอ บ้านปากแซม อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ วท.ม., มหาวิทยาลัยแม่โจ้,เชียงใหม่.

ลาวัณย์ สังขพันธานนท์. (2552). บทบาทหน้าที่ของนิทานพื้นเมืองลาว.วิทยานิพนธ์ ศศ.ด.,มหาวิทยาลัยนเรศวร,พิษณุโลก.

อมรา พงศาพิชญ์. (2538). สังคมและวัฒนธรรม : มนุษย์กับวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.