การบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย

Main Article Content

วีระโชติ ชุณหรุ่งโรจน์

บทคัดย่อ

  งานวิจัย การบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัจจุบันและลักษณะการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย (2) ประสิทธิผล และปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย ผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้บริหาร จาก สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่ได้รับรางวัล ประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดีเด่นแห่งชาติ ได้แก่ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนศูนย์กลางเทวา จำกัด สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนักบุญเปโตร จำกัด สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไทยฮอนด้า จำกัด และ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เอ็น เอชเค สปริงจำกัด จำนวนทั้งสิ้น 20 ราย
   ผลการวิจัยพบว่า สภาพและลักษณะการบริหารจัดการสหกรณ์ที่ประสบความสำเร็จ มีลักษณะรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน คือใช้สมาชิกเป็นหลักใหญ่ของโครงสร้าง เน้นความสัมพันธ์ของคณะกรรมการ ที่มาจากการเลือกตั้ง ทำงานโดยยึดโยงความสัมพันธ์กัน เน้นการทำงานที่ให้เกียรติต่อกัน มีเป้าหมายร่วมกันในการยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการสหกรณ์ฯ ได้แก่ การเจริญเติบโตของจำนวนสมาชิก ที่มุ่งเน้นคุณภาพ ช้าแต่มั่นคง การสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธา เน้นความผูกพันทางใจ และสร้างความเข้มแข็งอย่างค่อยเป็นค่อยไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญล้วน อุดมพันธ์. (2556). รูปแบบการพัฒนาความเข้มแข็งของสหกรณ์การเกษตร. ปริญญาปรัชญาดุษฎี บัณฑิต(ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค) . มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประสิทธิ์ ลอยวิสุทธิ์. (2553). การประเมินการปฏิบัติงานแบบดุลยภาพของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจสงขลา จำกัด.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. (การวิจัยและประเมิน). มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ยุพา ทองช่วง. (2555). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงานสหกรณ์กับสหกรณ์การเกษตรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.