ปัจจัยการจัดการสาธารณสุขส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการจัดการสาธารณสุขที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย โดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากประชากรที่เป็นแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมง จังหวัดสมุทรสาคร ที่ซื้อบัตรประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดสมุทรสาครโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 412 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนที่เป็นสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนที่เป็นสถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ของการวิจัย ด้วยการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการศึกษาพบว่า
ภาพรวมปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านด้านการจัดการสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ((x ) ̅= 3.85) การวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ ( r )ระหว่างปัจจัยด้านการจัดการสาธารณสุขกับการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกที่ระดับ 0.514 ที่ระดับนัยสำคัญ เท่ากับ 0.00 และผลการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านการจัดการสาธารณสุข (X1) มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพ (Y) เท่ากับ 0.69 จึงยอมรับสมมติฐานที่ว่า ปัจจัยด้านการจัดการสาธารณสุขส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
กระทรวงแรงงาน . (2557). ประเทศไทยกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ. เข้าถึงได้จาก http://www.mol.go.th/international01.html เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2558.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2539) .ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชิน ตั้งบุญชัยเจริญ. (2557). การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในการจัดการแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมประมงและห้องเย็นแปรรูปอาหารทะเล บริเวณจังหวัดชายทะเลภาคกลาง. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2556). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์:แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติจริง พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปวีณรัตน์ แสงโทณ์โพธิ์. (2557). ผลกระทบของการค้าแรงงานต่างด้าวต่อความมั่นคงของชาติในเชิงเศรษฐกิจสังคมและการเมือง : กรณีศึกษา 4 จังหวัดชายแดน ลุ่มน้ำโขงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร และนครพนม). ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เพ็ชราภรณ์ชัชวาลชาญชนกิจ และพรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า กรณีศึกษากิจการต่อเนื่องประมง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย,21(2),80-89.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2556). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.
วรเดช จันทรศร. (2551) .การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธรรมสาร จำกัด.
วสันต์ ศิลปะสุวรรณ. (2553). พฤติกรรมสุขภาพ.พฤติกรรมแบบสุขภาพ. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการสุขศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2545) .นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเกียรติ ชัยพิบูลย์. (2552) .ผลกระทบของการนำเข้าแรงงานต่างด้าวต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเมืองการค้าชายแดนแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2546). นโยบายสาธารณะแนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร :เสมาธรรม.
สุวารี เจริญมุขยนันท์ และคณะ. (2556). การศึกษาสถานการณ์การให้บริการสุขภาพกับชาวกัมพูชาที่ชายแดนไทย-กัมพูชา :กรณีศึกษา จังหวัดสระแก้ว จันทบุรี และตราด. กรุงเทพมหานคร : สำนักการสาธารณสุขระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข.
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2540). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่7 (พ.ศ. 2535-2539) . กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันไทย เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2554) . การศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาบริการและการใช้บริการเพื่อพัฒนาระบบการเงินการคลังสุขภาพ และการจัดบริการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ความต้องการสำหรับแรงงานข้ามชาติ :กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดระยอง. มูลนิธิรักษ์ไทย (ฟ้ามิตร 2).
Aday , L.A and Andersen, R . (1981). Equity of Access to medical Care A concept and Empirical Overview ,Medical Care.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper & Row.
Gulliford,M.(2001). Access to Health care, NCCSDO. (online) available from. http://www.sdo.Ishtm.uk/PDF/Access Scoping Exercise Report.
World Health Organization. (2004). Towards age-friendly primary health care. Geneva, Switzerland: Author.