กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมระดับตำบล จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมระดับตำบลของจังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างเลือกอย่างเจาะจง ในพื้นที่ 5 ตำบล ตำบลละ 30 คน รวม 150 คน จากภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม โดยใช้กระบวนการถอดบทเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็น แนวทางการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่ามีประเด็นร่วมของนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ คือ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และการเกษตรเพื่ออาหารปลอดภัย กระบวนการเริ่มต้นจากการก่อตัวของนโยบายเริ่มต้นจากการเห็นปัญหาของผู้นำชุมชนร่วมกับนโยบายภาครัฐ การกำหนดทางเลือกเชิงนโยบาย โดยนำประเด็นเข้าสู่สภาตำบล เพื่อกำหนดแผนงานและงบประมาณในการพัฒนาตำบล การตัดสินใจผ่านกระบวนการประชุมแล้วนำมากำหนดเป็นกฎระเบียบ การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจากท้องถิ่น การประเมินและติดตามผลโดยผู้นำชุมชนใช้วิธีการสังเกตจากการดำเนินการตามนโยบาย
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
ชนิษฎา ชูสุขและคณะ. (2559). กระบวนการนโยบายสาธารณะในการพัฒนาเมืองหาดใหญ่. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 9(2), 35-47.
ชาย โพธิสิตา. 2556. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ พิมพ์ครั้งที่6. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ทวีวัฒน์ เมฆอากาศ และภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์. (2554). การถอดบทเรียนกระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพ : กรณีศึกษาสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนล่าง. เอกสารเผยแพร่อัดสำเนา.
ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2558). วิทยากรกระบวนการ: พัฒนาสุขภาวะชุมชน. เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์.
นงเยาว์ อุดมวงศ์และคณะ. (2558). บทเรียนจากการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมี ส่วนร่วมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมตำบลชมพู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร. 42(1) : 97-107.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณและคณะ. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบาย สาธารณะ. รายงานวิจัย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
ประเวศ วะสี. (2556). กระบวนการนโยบายสาธารณะ (Public Policy Process) พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.).
เยาวเรศ หลุดพา. (2560). ความสำเร็จของนโยบายสาธารณะสู่ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นไทย. วารสารแพรวากาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 4(1), 136-153.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. เล่ม 116 ตอนที่ 114 ก หน้า 48. 17 พฤศจิกายน 2542.
_______. (2550). พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550. เล่ม 124 ตอนที่ 16 ก. 19 มีนาคม 2550.
สัญญา เคณาภูมิ. (2559). กรอบแนวคิดการศึกษานโยบายสาธารณะ. วารสารวิชาการและวิจัย สังคมศาสตร์. 11(33), 1-13.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.). (2556). นิยามเชิงปฏิบัติการ “กระบวนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม” ในโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในชุมชนท้องถิ่น โดยใช้ เครื่องมือภายใต้ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550. เอกสารอัดสำเนา.
อำพล จินดาวัฒนะ. (2552). การสร้างนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม : มิติใหม่การสร้างเสริม สุขภาพ พิมพ์ครั้งที่4. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.).
_______. (2556). การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม: มิติใหม่ของ การสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
Cohen, J. M. & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation : Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies , Cornell University.317p.
NACCHO. (2017). First Thing First : Prioritizing Health Problems. The National Connection for Local Public Health. Retrieved on August 5, 2017, from http://www.naccho.org/topics/infrastructure/ accreditation/upload/Prioritization.
WHO. (2008). World health report 2008: Primary health care now more than ever. Geneva : World Health Organization.