ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลของธุรกิจเช่าซื้อในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

ปรารถนา เชียงส่ง

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของธุรกิจเช่าซื้อในเขตภาคเหนือตอนบนแบ่งเป็น 5 ปัจจัย ได้แก่ ด้านนโยบายและหลักประกัน ด้านการวิเคราะห์ลูกหนี้ด้านการจัดชั้นลูกหนี้ด้านการปรับโครงสร้างหนี้ และด้านงบประมาณที่ใช้ในการติดตามหนี้ ซึ่งประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารหรือหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อ ผู้ปฏิบัติงานด้านสินเชื่อ และผู้ปฏิบัติงานทางบัญชีของธุรกิจเช่าซื้อ ในเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน ลำปางและแม่ฮ่องสอน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นคำถามที่ตอบพฤติกรรมที่ดำเนินการจริงและความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรง และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
   ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า ปัจจัยด้านนโยบายและหลักประกัน ด้านการวิเคราะห์ลูกหนี้ด้านการจัดชั้นลูกหนี้ด้านการปรับโครงสร้างหนี้และด้านงบประมาณที่ใช้ในการติดตามหนี้มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
   ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของธุรกิจเช่าซื้อในเขตภาคเหนือตอนบนด้านการวิเคราะห์ลูกหนี้และด้านการปรับโครงสร้างหนี้ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารจัดการลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และด้านงบประมาณในการติดตามหนี้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารจัดการลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .10

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร วาฤทธิ์. (2551). ปัจจัยที่กำหนดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ธนาคารแห่งประเทศไทย .(2558). การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2558.
จาก https://www.bot.or.th/Thai/ FinancialInstitutions/PruReg_HB/Documents/4_SFIs-Credit-4.pdf.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ.สิริวิทยาสาส์น.

ไพรวัลย์ คุณาสถิตชัย. (2553). การบริหารความเสี่ยงของด้านการเงินของมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (สาระนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นจากฐานข้อมูลงานวิจัย ThaiLis Digital Collection.

ภัทรา กล่ำแสง. (2554). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างราคาหลักทรัพย์กับประสิทธิภาพในการบริหารลูกหนี้การค้า กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มธุรกิจการเกษตร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. สืบค้นจากฐานข้อมูลงานวิจัย ThaiLis Digital Collection.

วิโรจน์ ประสิทธิ์. (2554). การปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต ของพนักงานสินเชื่อธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด (มหาชน)ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารครามและร้อยเอ็ด. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานชนินทร์. สืบค้นจากฐานข้อมูลงานวิจัย Thailis Digital Collection.

สุธาสินี พรหมบุตร. (2549). การศึกษาสาเหตุที่ทำให้ลูกหนี้ชำระหนี้ล่าช้าในธุรกิจกิจเช่าซื้อรถยนต์:กรณีศึกษาสถาบันการเงินแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.