ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารวิชาการกับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 The Relationship between the Teacher’s Participation of Academic Administration and Academic Administration at Education Institution of Secondary Educational Service Area Office 36

Main Article Content

พร้อมพงศ์ รักประชา

บทคัดย่อ

           


การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ             1) ศึกษาระดับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36             2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารวิชาการกับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน           ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน 288 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 และมีค่าความเที่ยงแบบสอบถามทั้งฉบับ        ที่ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ      เพียร์สัน


              ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ตามการรับรู้ของครู อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.23) 2) ระดับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารวิชาการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 3.54) 3) ความสัมพันธ์ของระดับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารวิชาการกับการบริหารวิชาการของสถานศึกษา         ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ (r = .06) ที่ระดับนัยสำคัญ   ที่ .05


คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของครู  การบริหารวิชาการ  เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Charong, M. (2017). The academic administration of school administrators as perceived by teachers in Taling–Chan Networks Center under Yala Primary Educational Service Area Office 2. Master’s independent study in Educational Administration: Yala Rajabhat University. (in Thai)

Kao-ian, J. (2012). Academic administration technology in educational institutions.

Yala: Yala Rajabhat University. (in Thai)

Kasemsin, S. (2003). Management. Bangkok: Thai Wattana Panit. (in Thai)

Kusolvisitkul, W. (2006). “Sampling and sample size determination” In The processing series of research in nursing information and statistics. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Ministry of Education. (2003). National Education Act, 1999 and Amended (No.2) BE 2545 (2002) with relevant ministerial regulations and compulsory National Education Act BE 2545 (2002). Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)

The Office of Secondary Education Area 36. (2018a). Data of students and teachers. http://data.bopp-obec.info. May 25, 2018 (in Thai)

The Office of Secondary Education Area 36. (2018b). GIS information/general information history. http://www.spm36.obec.in.th/index. May 25, 2018 (in Thai)

The Office of the Basic Education Commission. (2009). Course management guideline.

Bangkok: The Office of the Basic Education Commission. (in Thai)

The Office of the Education Council. (2017). National Education Development Plan (2017-2036). Bangkok: The Office of the Education Council. (in Thai)

The Office of the National Economic Development Board. (2017). National Economic and Social Development Plan No.12. http://www.nesdb.go.th/ewt_news.phd. September 10, 2017 (in Thai)

Panchan, V. and Nilawan, K. (2017). “The relationship between the participative management and academic administration of the schools under Secondary Educational Service Area Office 1”. Academic Journal, Suan Dusit Graduate School 13(3): 260-269.

(in Thai)

Phananont, Y. (2003). Participation in the management role of the commission under the Office of Basic Education Primary School in Saraburi. Master’s thesis in Educational Administration: Chandrakasem University. (in Thai)

Phunpeng, I. (2012). The participation of teachers in the academic administration of the secondary school united campus 3 under the Office of Secondary Education Area 29. Master’s thesis in Educational Administration: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Sanguannam, J. (2008). Theory and practice in educational institution. 2nd ed. Bangkok: Book point. (in Thai)

Wannasri, J. (2014). Academic administration in educational institutions. Phitsanulok: Rattanasuwan Printing 3. (in Thai)

Wattanapun, Y. (2016). The relationship between transformation leadership of head nurses and participation of registered nurse for hospital accreditation perceived by registered nurses Phrae hospital. Master’s thesis in Nursing Science: Naresuan University. (in Thai)

WonganutraRoj, P. (2010). Academic administration. Bangkok: Bangkok Supplementary Media Center. (in Thai)

(In Thai)

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติภาคบังคับพ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ)

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2555) . เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา .ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา.พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์3

วิระภรณ์ ปานจันทร์ กัญญ์รัชการย์ นิลวรรณ. (2560) . “ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการบริหารวิชาการของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 1.” วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต 13(3) :260-269

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร:บุ๊คพอยท์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

มูนา จารง. (2560). การบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในเครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 3 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

ยุทธศิลป์ พานนนท์. (2546). การมีส่วนร่วมในการบริหารตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยจันทรเกษม.

ยุพวลัย วัฒนพันธ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิไล กุศลวิศิษฎกุล. (2549) . “การสุ่มตัวอย่างและการหาขนาดตัวอย่าง” หน่วยที่5 ในประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยทางการพยาบาลสารสนเทศและสถิติ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สมพงษ์ เกษมสิน. (2546) . การบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่36. (2561). สารสนเทศ GIS/ข้อมูลทั่วไป-ประวัติ. http://www.spm36.obec.in.th/index. 25 พฤษภาคม 2561

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่36. (2561). ข้อมูลจำนวนนักเรียนและครู. http://data.bopp- obec.info .25 พฤษภาคม 2561

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. http://www.nesdb.go.th/ewt_news.phd. 10 กันยายน 2560.

อิทธิพล พันธ์เพ็ง. (2555) .การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สหวิทยาเขต 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.