ทุนทางสังคม ทุนมนุษย์ และทุนเครือข่าย ที่มีต่อผลสำเร็จของธุรกิจ เครื่องปั้นดินเผา ในพื้นที่เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

สมศรี เต็มอนุภาพกุล

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของทุนทางสังคม ทุนมนุษย์ และทุนเครือข่าย ที่มีต่อผลสำเร็จของธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 191 คน ด้วยการศึกษาแบบจำลองโครงสร้าง (Structural Equation Model, SEM) จากนั้นทำ การวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) กับผู้ชำนาญการ จำนวน 17 คน
  ผลการวิจัย พบว่า ทุนทางสังคม ส่งผลทางตรงต่อผลสำเร็จของกลุ่มธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา ที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .66 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุนเครือข่ายส่งผลทางตรง ต่อผลสำเร็จของกลุ่มธุรกิจเครื่องปั้นดินเผาที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ .45 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุนมนุษย์ ไม่ได้ส่งผลทางตรงต่อผลสำเร็จของกลุ่มธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา และทุนทางสังคม ทุนมนุษย์ และทุนเครือข่ายสามารถร่วมกันทำนายผลสำเร็จของกลุ่มธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา ได้ร้อยละ 63 ผลการวิจัย เชิงคุณภาพ สามารถยืนยันและสนับสนุน ผลการวิเคราะห์ทางสถิติของงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งพบว่า ทุนทางสังคม มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสำเร็จของกลุ่มธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา และทุนเครือข่าย มีอิทธิพลทางตรง ต่อผลสำเร็จของกลุ่มธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา ในพื้นที่เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรีอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Fukuyama, F. (1995). Trust: The Social Virtues and the Creation of Prosperity. New York: Free Press.

Kamonwan Wanthanang. (2010). Social capital and knowledge management for self-reliant Community. Thesis Doctor of Philosophy: National Institute of Development Administration.

Musteen, M. (2006). The role of international network and Foreign maket knowledge in The internationalization of Czech entrepreneurial ventures. University of Kansas.

Office of the National Economics and Social Development Council. (2008). The eighth and ninth National Economic and Social Development Plan. Retrieved October 11, 2011, from http://www.nesdb.go.th.

Pattamawadee P. Suzuki. (2004). Social Capital and Development. Economics of Development Handout Unit 14. Bangkok: The Office of the University Press Sukhothai Thammathirat Open University.

Pattanapong Sukitpaneenit. (2009). Social Capital and Development of The Nation. Thesis Master of Economics: Chulalongkorn University.

Putnam, D. R. (1995). Tuning In, Tuning Out: The Strange Disappearance of Social Capital in America. Political Science and Politics, 28(4), 664-683.

Sabatini, F. (2005). The Role of Social Capital in Economic Development: Investigating the Causal Nexus Through Structural Equations Models. Retrieved October 11, 2011, from https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=901361.

Suchart Prasithrathsint. (2003). Research methodology in social sciences. (11th ed.). Bangkok: Samlada

Suthiwan Sooksridakul. (2009). A survey of individual social capital in rural Thailand : a case study of Ban Lawa Moo 7 Tambon Wat Phleng, Amphoe Wat Phleng Ratchabur province. Independent Study Master of Art: Silpakorn University.

Suvit Maesincee. (2017). Philosophy of sufficiency economy and Sustainable Development: A Paradigm Of Development to Thailand 4.0. Retrieved October 15, 2018, from http://cse.nida.ac.th/main/images/books/suwit_revise.pdf.

Witaya Kamunee. (2008). Social Capital for Building Community Capacity : Case Studies of Community Microcredit or Ganatjons in Lampang and Tak Provinces. Thesis Doctor of Philosophy: Naresuan University.

Woolcock, M. (2000). Prospects for development. Retrieved October 20, 2004, from http://www.worldbank.org.

World Bank. (1975). Prospects for development. Retrieved October 20, 2004, from http://www.worldbank.org.

กมลวรรณ วรรณธนัง. (2553). ทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่ชุมชนพึ่งตนเอง. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปัทมาวดี โพชนุกูล ซูซูกิ. (2547). ทุนทางสังคมกับการพัฒนา. เอกสารประกอบการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา หน่วยที่ 14. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

พัฒนพงศ์ สุกิจปาณีนิจ. (2552). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาประเทศ. ปริญญานิพนธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยา คามุณี. (2551). ทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชน: กรณีศึกษองค์กรออมทรัพย์ชุมชนในจังหวัดลำปางและตาก . ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ. (2551). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2554, จาก http://www.nesdb.go.th.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2546. ระเบียบวิธีการวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

สุทธิวรรณ สุขศรีดากุล. (2552). การสำรวจระดับทุนทางสังคมของบุคคลในชนบทไทย : กรณีศึกษาบ้านละว้า หมู่ที่ 7 ตำบลวัดเพลง อำเภอวัดเพลงจังหวัดราชบุรี. การศึกษาอิสระ, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน: กระบวนทัศน์การพัฒนาสู่ประเทศไทย 4.0. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561, จาก http://cse.nida.ac.th/main/images/books/suwit_revise.pdf.