การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคเหนือตอนบน 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคเหนือตอนบน 3. เพื่อตรวจสอบและยืนยันรูปแบบ การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคเหนือตอนบนและ 4. เพื่อประเมิน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเขตภาคเหนือตอนบนมีการดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น โดยสอบถามหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 338 คนขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคเหนือตอนบน โดยผู้วิจัย ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบและยืนยันรูปแบบโดยจัดกลุ่มสนทนา ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 16 ท่าน ขั้นตอนที่ 4 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคเหนือตอนบน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคเหนือตอนบนพบว่า ความจำเป็นมากที่สุดคือ ด้านการจัดโครงสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การแบ่งฝ่ายหรือสายการบังคับบัญชาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคเหนือตอนบน มีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการและเหตุผลของรูปแบบส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบส่วนที่ 3 สาระสำคัญ ของรูปแบบส่วนที่ 4 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้และส่วนที่ 5 เงื่อนไขของรูปแบบได้รับการตรวจสอบและยืนยันรูปแบบและผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ระดับความคิดเห็นด้านความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
Department of Local Administration. (2010). The standard child development centers in sub-district administrative organization. Bangkok: Thai Watana Panich.
Kanista Songjakkaew. (2009). The development of a model for faculty development of private higher education institutions. Thesis Doctor of Philosophy Program in Higher Education: Chulalongkorn University
Nathaphoom Lekthawilwong. (2003). A Study of state and problems of education management in pre-primary education level of subdistrict administration organization in Suphanburi province. Thesis Masterof Education: Kanchanaburi Rajabhat University.
Nongluk Rueanthong. (2007). The model of school administrative effectiveness. Thesis Doctor of Education: Srinakharinwirot University.
Pimpen Yodkaew. (2008). A development of management of child development centers by community participation of Srivichai sub-district Lee district, Lamphun province. Bangkok: The Thailand Research Fund.
Taddao Laorrojwong. (2006). Factors affecting child attendents performance in child development centers. Bangkok: Community Development Department.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2553). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ขนิษฐา ทรงจักรแก้ว. (2552). การพัฒนารูปแบบพัฒนาคณาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐภูมิ เล็กถวิลวงศ์. (2550). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ทัดดาว ลออโรจน์วงษ์. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน.
นงลักษณ์ เรือนทอง. (2550). รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล. ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญส่ง หาญพานิช. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์เพ็ญ ยอดแก้ว. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.