การจัดการทรัพยากรเกลือสินเธาว์ของชุมชนบ่อเกลือจังหวัดน่าน

Main Article Content

ธีรศักดิ์ พิทักษ์กุล

บทคัดย่อ

  การศึกษาการจัดการทรัพยากรเกลือสินเธาว์ของชุมชนบ่อเกลือจังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1. ความสัมพันธ์ของชุมชนกับการผลิตเกลือสินเธาว์ และ 2. แนวทางการจัดการทรัพยากรร่วมเกลือสินเธาว์อย่างยั่งยืน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกตประชากรจาก 3 กลุ่ม 1. กลุ่มผู้นำชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น และประชาชนที่มีส่วนร่วม จำนวน 12 คน 2. กลุ่มผู้ผลิตเกลือสินเธาว์ จำนวน 24 คน และ 3. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรร่วม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยแยกแบบสัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลแต่ละคน จัดหมวดหมู่ของข้อมูล โดยแยกแต่ละประเด็นคำถาม ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ของชุมชนกับบ่อเกลือ มีความสัมพันธ์จากอดีตสู่ปัจจุบันโดยบรรพบุรุษได้สร้างกิจกรรมอันเป็นเครื่องมือในการเชื่อมความสัมพันธ์คนในชุมชนเอาไว้ด้วยกัน โดยผ่านร่างทรง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และการไม่มีกฎ ระเบียบ หรือข้อตกลงร่วมกันในการที่จะดูทรัพยากรเกลือสินเธาว์ ซึ่งเป็นของ “หน้าหมู่” ก็จะทำให้ทรัพยากรนั้นหมดสิ้นลงได้ ดังนั้นการทำข้อตกลง สร้างกฎ กติการ่วมกันและผู้ใช้ทรัพยากรมีส่วนร่วมในการออกกฎ ระเบียบ ก็จะทำให้ทรัพยากรเกลือสินเธาว์ยังคงอยู่ชุมชนต่อไป
  ส่วนแนวทางการจัดการทรัพยากรร่วมเกลือสินเธาว์ให้เกิดความยั่งยืน ได้แก่ 1. ความชัดเจนของขอบเขตพื้นที่การใช้ และขอบเขตของผู้ที่ใช้บ่อน้ำเกลือสินเธาว์ 2. กติกาการใช้บ่อเกลือต้องสอดคล้องกับกติกาการดูแลบ่อเกลือด้วย 3. ทุกคนต้องมีสิทธิมีส่วนร่วมในการที่ปรับปรุงกฎ กติกา 4. มีการสอดส่องดูแล ทั้งทรัพยากรและผู้ใช้ทรัพยากร 5. ผู้กระทำผิดต้องถูกการลงโทษจากเบาไปหาหนัก 6. มีวิธีจัดการความขัดแย้งจากกรณีผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาของกลุ่ม อย่างง่ายและรวดเร็ว 7. รัฐต้องให้สิทธิ ผู้ใช้ทรัพยากรในการออกกฎ กติกา ในการใช้ทรัพยากร และ 8. กฎ กติกาของกลุ่มผู้ใช้ทรัพยากร ต้องสอดคล้องกับกฎ กติกาที่อยู่ ในระดับสูงขึ้นนั่นก็คือ ระเบียบของทางราชการหรือกฎหมาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anan Ganjanapan. (1995). Social changes and Thai community potentials. Bangkok: Amarin.

Muchima Wachirapo (2010). Potentials and limitations of joint management in Protected Area Project : A Case study of Mae Tia-Mae Tae Watershed Committee Networks, Chom Thong District, Chiang Mai Province. Thesis Master of Science: Chiang Mai University.

Nattawut Pimlada. (2008). Conflicts and conflict management of forest resources by co-management : A Case study of Ban Huai Khanun, Doi Kaeo Sub-district, Chom Thong District, Chiang Mai Province. Thesis Master of Science: Chiang Mai University.

Ostrom, E. (1990). Governing the common: The evolution of institutions for collective action. Cambridge, UK: Cambridge University Press.

Patchaya PinkunThayong. (2010). Evidence based and participatory land demarcation solutions in land use conflict in protected area : a case study of Huai Som Poi Villege, Doi Kaeo Sub-district, Chom Thong District, Chiang Mai Province. Thesis Master of Science: Chiang Mai University.

ณัฐวุฒิ พิมพ์ลัดดา. (2551). ความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งของทรัพยากรป่าไม้โดยการจัดการร่วม:กรณีศึกษาบ้านห้วยขนุนตำบลดอนแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต:

ปรัชญา ปิ่นขันธยงค์. (2553). การแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งจากการใช้ที่ดินในพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ร่วมกับการกำหนดแนวเขตการใช้ที่ดินแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาบ้านห้วยส้มป่อย ตำบลดอนแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มัชฌิมา วชิระโพธิ์. (2553). ศักยภาพและข้อจำกัดของการจัดการร่วมในโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครอง : กรณีศึกษาเครือข่ายคณะกรรมการลุ่มน้ำแม่เตี๊ยะ-แม่แตง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2538). การเปลี่ยนแปลงสังคมกับศักยภาพของชุมชนไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.