การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพ ปัญหา ข้อเสนอแนะ และ แนวทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ใช้วิธีการแบบผสม (Mixed Method) การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในพื้นที่ที่มีแหล่งเรียนรู้ชุมชน จำนวน 380 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลด้วยการสังเกต และการสนทนากลุ่มจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้บริหารแหล่งเรียนรู้ชุมชน พร้อมด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเจ้าหน้าที่พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ผาบ่อง จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า สภาพการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยรวม อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีส่วนร่วมและ ด้านการส่งเสริมความรู้ อยู่ในระดับน้อย ด้านการประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับน้อยที่สุด ปัญหา พบว่า แหล่งเรียนรู้ชุมชน ขาดงบประมาณการดำเนินงาน ไม่ได้รับการต่อยอดองค์ความรู้ของแต่ละแหล่ง ขาดการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ชุมชนในด้านต่าง ๆ ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ชุมชน ควรจัดฝึกอบรม และพาไปดูแหล่งเรียนรู้ ชุมชนอื่นที่ประสบผลสำเร็จ ควรมีการทำวีดีทัศน์ หรือจัดทำแผ่นซีดีเพื่อการเผยแพร่
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
Anan Ganjanapan. (1996). Community Dimension : Local Conception on Right, Power and Resource Management. Bangkok: The Thailand Research Fund.
Department of Local Administration. (2550). Standard of Community Learning Centers. Bangkok: Department of Local Administration.
Office of the National Economics and Social Development Council. (2008). The eleventh National Economic and Social Development Plan. Retrieved August 8, 2014, from http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=395.
Phabong Subdistrict Administrative Organization. (2013). Annual report and the details of meeting document 2013. Mae Hong Son: Phabong Subdistrict Administrative Organization Mueang District, Mae Hong Son province.
Supatra Chadbunchachai. (2005). Learning process Concept Meaning and Experience in Thai Social. Bangkok: Learning and Empowerment for Healthy Communities Project.
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2550). มาตรฐานศูนย์การเรียนรู้ชุมชน. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ. (2551). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2557, จาก http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=395.
สุพัตรา ชาติบัญชาชัย. (2548). กระบวนการเรียนรู้ แนวคิด ความหมาย และบทเรียนในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้ เพื่อชุมชนเป็นสุข.
องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง. (2556). เอกสารการประชุมประจำปี 2556. แม่ฮ่องสอน: องค์การบริหารส่วนตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน.
อมรา พงศาพิชญ์. (2543). ทุนทางสังคมในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในสังคมไทย 2543. วารสารวิจัยสังคม, 23(1), 34-50.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2539). มิติชุมชน: วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิ์ อำนาจ และการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิภูมิปัญญา.