กลวิธีในการเล่าเรื่องของเรื่องเล่ากลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

เบญจมาภรณ์ สุริยาวงศ์

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิเคราะห์กลวิธีในการเล่าเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าใน จังหวัดเชียงราย โดยศึกษาข้อมูลเรื่องเล่ากลุ่มชาติพันธุ์อาข่า จาก 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านปางปู่เลย ตำบลป่าซาง หมู่บ้านแสนสุข ตำบลศรีค้ำ อำเภอแม่จัน และ หมู่บ้านอาผ่าพัฒนา ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง โดยคัดเลือกเรื่องเล่าที่มีการดำเนินเรื่อง โครงเรื่อง มีตัวละคร และฉาก ซึ่งรวบรวมได้ทั้งหมด 39 เรื่อง โดยใช้แนวคิดโครงสร้างเรื่องเล่าของ สุกัญญา สุจฉายา แนวคิดโครงสร้างของวาทกรรมของกัลยา กุลสุวรรณ และแนวคิดโครงสร้างวรรณกรรมของไพโรจน์ บุญประกอบ มาประยุกต์ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการศึกษากลวิธี การเล่าเรื่อง ในด้านของการเปิดเรื่อง การดำเนินเรื่อง และการปิดเรื่อง จากการศึกษาเรื่องเล่าของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า พบว่าเรื่องเล่ากลุ่มชาติพันธุ์อาข่าทั้ง 39 เรื่อง นิยมเปิดเรื่องโดยการใช้การบรรยายมากที่สุด 38 เรื่อง และการเปิดเรื่องด้วยการพรรณนาสถานการณ์หรือเหตุการณ์ของเรื่อง 1 เรื่อง ส่วนกลวิธีในการดำเนินเรื่องพบการดำเนินเรื่องตามลำดับเวลา ทั้งหมด 39 เรื่อง และ การปิดเรื่องพบการปิดเรื่องแบบสุขนาฏกรรมเป็นที่นิยมมากที่สุด 20 เรื่อง รองลงมาคือ การปิดเรื่องแบบให้ข้อคิด 16 เรื่อง การปิดเรื่องแบบโศกนาฏกรรม 2 เรื่อง และการปิดเรื่องแบบหักมุม 1 เรื่อง ผลการศึกษาค้นคว้ายังทำให้เห็นว่า เรื่องเล่าของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า เป็นเรื่องเล่าที่มีกลวิธีในการเล่าเรื่องไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย นอกเหนือจากเป็นเครื่องมือให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินกับคนในชุมชนแล้ว เรื่องเล่ายังมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดแนวทางในการดำเนินชีวิตสืบทอด ต่อกันมา และยังเป็นเครื่องมือในการอบรมสั่งสอนคนในสังคมอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kanlaya Kunsuwan. (2010). Didactic Literature of Buddhadasa Bhikkhu. Thesis Doctor of Philosophy: Mahasarakham University.

Kraisit Sitthichodok, (2013). Akha, Rite, Faith and Beauty. The Thailand Research Fund: Chiangmai.

Pairoj Boonprakob. (1996). Creative Writing short story-novel. Bangkok: Dokya.

Saiwaroon Noinimit. (1998). Short stories in Chokaraket: Who told the story. Language and Book Journal. 29, 209-230.

Saowalak Anuntasarn. (2000). Folklore theory and techniques. Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Sujinda Roopchom. (1995). Northern Folk Tales Analysis for Teaching Thai Folk Tale. Thesis Master Education: Chiangmai University.

Sukanya Sujachaya. (2014). Thai traditional literatures and tales. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

กัลยา กุลสุวรรณ. (2553). วาทกรรมคำสอนของพระพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไกรสิทธิ์ สิทธิโชดก. (2556). อาข่า พิธีกรรม ความเชื่อ และความงาม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย:สำนักงานภาคเชียงใหม่.

ไพโรจน์ บุญประกอบ. (2539). การเขียนเชิงสร้างสรรค์ เรื่องสั้น – นวนิยาย. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า.

สายวรุณ น้อยนิมิต. (2541). เรื่องสั้นรางวัลช่อการเกด : ใครเล่าเรื่อง. วารสารภาษาและหนังสือ. 29, 209-230.

สุกัญญา สุจฉายา. (2557). วรรณคดีนิทานไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจินดา รูปโฉม. (2538). วิเคราะห์นิทานพื้นบ้านภาคเหนือเพื่อใช้ประกอบการสอนรายวิชานิทานพื้นบ้าน. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2553). ทฤษฎีคติชนและวิธีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.