กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Main Article Content

โยธิน สิทธิประเสริฐ

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักของการวิจัยเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 มีวัตถุประสงค์ย่อยคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู 2) เพื่อศึกษาสภาพการได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของครู 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนแบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สังเคราะห์ หาเหตุและปัจจัยที่มีต่อสภาพการบริหาร แล้วกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 (ร่างที่ 1) ผู้วิจัยได้นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตรวจสอบและยืนยันกลยุทธ์ด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแล้วปรับปรุงกลยุทธ์ (ร่างที่ 2) และประเมินกลยุทธ์โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ ได้กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัยพบว่า
   1. สภาพการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู ภาพรวมมีระดับคุณภาพพอใช้ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ กระบวนการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน มีระดับคุณภาพมาก รองลงมาที่มีระดับคุณภาพมาก ได้แก่ การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาทักษะการพัฒนาหลักสูตรและการนำไปใช้ การพัฒนาทักษะการเสริมสร้างลักษณะนิสัยของผู้เรียน การพัฒนาทักษะการจัดการในชั้นเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศเชิงบวก และที่มีระดับคุณภาพพอใช้ ได้แก่ การพัฒนาทักษะการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ การเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาทักษะการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง การพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาทักษะการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
   2. สภาพการได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของครู ในภาพรวมมีระดับคุณภาพน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ กระบวนการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน มีระดับคุณภาพพอใช้ รองลงมาที่มีระดับคุณภาพพอใช้ ได้แก่ การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาทักษะการพัฒนาหลักสูตรและการนำไปใช้ การพัฒนาทักษะการเสริมสร้างลักษณะนิสัยของผู้เรียน การพัฒนาทักษะการจัดการในชั้นเรียนเพื่อสร้างบรรยากาศเชิงบวก และที่มีระดับคุณภาพน้อย ได้แก่ การพัฒนาทักษะการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง การพัฒนาทักษะด้านคอมพิวเตอร์ การพัฒนาทักษะการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม
   3. การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษ ที่ 21 ประกอบด้วย กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน กลยุทธ์ที่ 2 เร่งเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของครู กลยุทธ์ที่ 3 เร่งพัฒนาทักษะการบริหารจัดการในชั้นเรียน และ กลยุทธ์ที่ 4 เร่งพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ซึ่งทั้ง 4 กลยุทธ์ มี 22 แนวทางการดำเนินการ 25 ตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยผลการประเมินกลยุทธ์มีความเหมาะและเป็นไปได้มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Krittamate Bunnoon. (2016). The Teachers Private Schools Development Strategy for
Fundamental Education. Journal of Social Academic. Chiang Rai Rajabhat University.
9(3): 154 - 168.

Kultharee Phikungam. (2008). Research on academic administration affecting quality of
learners in educational institutions Fundamentals under the Office of Nakhon
Pathom Educational Service Area 2. (Master of Education). Silpakorn University.
Bangkok.

New future skills, learning in the 21st century. (2012). Retrieved November 8, 2014,
from http://www.qlf.or.th/Home/Contents/417.

Office of the Basic Education Commission. (2010). Teacher Performance Assessment Guide
for the Office of the Board of Directors Basic education, 2010. Bangkok: Office of
the Basic Education Commission.

Office of the Education Council. (2009). Educational reform framework in the second
decade (2009- 2018). 2nd Print and update. Bangkok: Prikwarn Graphic Co., Ltd.

Prawet Wasi. (2014). Learning Revolution to the Change Point of Thailand. Bangkok:
Mata Co., Ltd.

Preeyaporn Wonganutaroj. (2003). Academic administration. Bangkok: Bangkok
Supplementary Media center.

Somporn Sangkhaosuttirak. (2007). Factors that identify educational change in basic
education commission. (Doctor of Philosophy). Silpakorn University, Bangkok.

Somporn Sangkhaosuttirak. (2016). Policy of the Office of the Basic Education Commission, fiscal year 2017.Bangkok: Office of the Basic Education Commission.

กฤตเมธ บุญนุ่น. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาครูเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์
วิชาการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 9(3): 154 – 168.

กุลฑรี พิกุลแกม. (2551). การวิจัยการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร.

ทักษะแห่งอนาคตใหม่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (2555). สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2557, จาก
http://www.qlf.or.th/Home/Contents/417.

ประเวศ วะสี. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท มาตา จำกัด.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

สมพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์. (2550). ปัจจัยที่จำแนกการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
(ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.กรุงเทพ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครูสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552
- 2561). พิมพ์และปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.