กลยุทธ์การบริหารจัดการการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านโป่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1

Main Article Content

ภูวสิษฏ์ บุญศรี

บทคัดย่อ

  วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของการบริหารจัดการการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านโป่ง เพื่อศึกษาเหตุปัจจัยของการบริหารจัดการการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านโป่งและเพื่อพัฒนากลยุทธ์ของการบริหารจัดการการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านโป่งโดย ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรและผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม
   ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านโป่งในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่คาดหวังของการบริหารจัดการการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านโป่งในภาพรวมจากการวิเคราะห์อยู่ในระดับมากที่สุด 2) เหตุปัจจัยของการบริหารจัดการการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า ด้านวัสดุทรัพยากรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด 3) กลยุทธ์การบริหารจัดการการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านโป่งที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมี 8 กลยุทธ์หลัก คือ 1. ยกระดับการระดมทุนในการบริหารจัดการสถานศึกษา 2. พัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายสู่การบริหารจัดการ 3. สนับสนุนการระดมทรัพยากรในการจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 4. เสริมสร้างการขับเคลื่อนนโยบายการจัดหลักสูตรและ การจัดการเรียนการสอน 5. ยกระดับการใช้เทคโนโลยีที่สนับสนุนในการการบริหารจัดการสถานศึกษา 6. ยกระดับการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการสถานศึกษา 7. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีที่สนับสนุนการจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 8. ส่งเสริมภาคีเครือข่ายการเรียนรู้ในการจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bergmann, J., & Sams, A. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class
Every Day: International Society for Technology in Education.

Krittamate Bunnoon. (2014). The Teachers Private Schools Development Strategy for
Fundamental Education. Doctor of Philosophy Program in Innovation Management
for Development. Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.

Ministry of Education. (2007). Driving the philosophy of sufficiency economy Educational
institutions. Bangkok.

Preeyanuch Thammapiya. (2013). Economic crisis 1997 and the philosophy of sufficiency
economy. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Preeyanuch Thammapiya. (2014). Driving the philosophy of sufficiency economy in education (2006 – 2014). Sufficiency Education Center: Yuwasathirakun Foundation.

Rung Kaewdaeng. (2003). Juristic school. Bangkok: Thai Wattana Panich,

Salina Boonkua and Nanthakarn Chinnaphat. (2014). Lesson Learned and analyzing Identity
Center Learn according to the philosophy of sufficiency economy in education.
Sufficiency Education Center: Yuwasathirakun Foundation.

Siriwan Serirat and others. (1997). Strategic Management and Case Studies (full).
Bangkok: Wisit Pattana.

Somyos Navikarn. (1997). Administration and organizational behavior. Bangkok: Manager.

Sureporn Wongsawatsuk. (2008). The study of school curriculum development according
to the sufficiency economy philosophy in Rajawinit Secondary School. Master of
Arts. Bangkok: Graduate School of Srinakharinwirot University.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร.

กฤตเมธ บุญนุ่น. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาครูโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน .
ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ปรียานุช ธรรมปิยา. (2556). วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ปรียานุช ธรรมปิยา.. (2557). การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (พ.ศ. 2549 –2557). ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง: มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

รุ่ง แก้วแดง. (2546). โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช,

ศาลินา บุญเกื้อ และ นันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์. (2557). การถอดบทเรียนและวิเคราะห์ อัตลักษณ์ศูนย์การ
เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง:
มูลนิธิยุวสถิรคุณ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2540). การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา (ฉบับสมบูรณ์).
กรุงเทพมหานคร: วิสิทธิ์พัฒนา.

สมยศ นาวีการ. (2540). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ผู้จัดการ.

สุรีพร วงศ์สวัสดิ์สุข. (2551). การศึกษาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน
โรงเรียนราชวินิต มัธยม. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.