ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท

Main Article Content

ไพศาล ขุนวิเศษ

บทคัดย่อ

  การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท เป็นการวิจัย เชิงปริมาณ โดยมีประชากร คือ ประชาชนทั่วไปที่อายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป ของจังหวัดชัยนาท จำนวน 259,958 คน และ กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอ้างอิง คือ สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุ
   ผลการวิจัย พบว่า ระดับประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท อยู่ในระดับมาก ในด้านของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก คือ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านทัศนคติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก และปัจจัยด้านทัศนคติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีอิทธิพลประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bureau of Communicable Diseases by Insects. (2017). Prognosis report "Dengue fever" year 2017. Retrieved
January 15, 2017, from http://www.thaivbd.org/n/uploads/file/file_PDF/ Dengue/2560/dengue_ forecast_
60.pdf.

Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2017). Report 506. Retrieved
January 3, 2017, from http://www.boe.moph.go.th/boedb/ surdata/disease.php?ds=66.

Charoensook, O. (2017). Applied Epidemiology To prevent and control dengue fever. Samut Sakhon: Born To
Be Publishing.

Department of Disease Control. (2017). Situation of dengue fever. Retrieved December 26, 2016, from http://
www.thaivbd.org/n/dengues?module=2559.

Good Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.

Hornby A. S. (2001). Oxford Advanced Learner’s Dictionary (6th ed.). Oxford: Oxford University Press.

Mornkai S. (2014). Factors Related to Participation in Prevention and Control of Dengue Fever in the
Community. Ban Wang Sai, Wang Nam Khiao Subdistrict Kamphaeng Saen District Nakhon Pathom
Province. Master of Arts Thesis. Human Resources and Community Development Program Faculty of
Education and Development Sciences. Bangkok: Kasetsart University.

กรมควบคุมโรค. (2560). สถานการณ์โรคไข้เลือดออก. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2559, จาก http://www.thaivbd.org/n/
dengues?module=2559.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงาน 506. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2560, จาก http://www.
boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?ds=66.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2560). รายงานพยากรณ์โรค “ไข้เลือดออก”ปี 2560. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560, จาก http://
www.thaivbd.org/n/uploads/file/file_PDF/ Dengue/2560/ dengue_ forecast _60.pdf.

สุดใจ มอนไข่. (2557).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชนบ้านวังไทร
ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ
ชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

องอาจ เจริญสุข. (2560). ระบาดวิทยาประยุกต์เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. สมุทรสาคร: บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง.