การพัฒนาผู้บริหารและครูเพื่อยกระดับการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพะเยา เพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2558 – 2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านการสอนของครูที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดพะเยา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนา สุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา 3) เพื่อศึกษารูปแบบกลยุทธ์การบริหาร จัดการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทสังคม พหุวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา 4) เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครูและผู้บริหาร ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดพะเยา และ 5) เพื่อศึกษารูปแบบ การบริหารความเสี่ยงทางการกีฬาและนันทนาการในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จังหวัดพะเยา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการพัฒนาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างสมรรถภาพการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเองสำหรับครู ได้รูปแบบการเรียนการสอนโดยมีหลักการของรูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย
1.1 การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยจะเกิดขึ้นได้ดี หากผู้สอนดำเนินการสอนแบบฮิวริสติกส์ คือ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก รวมทั้งฝึกกลวิธีในการเรียนรู้และควบคุมการเรียนรู้ของผู้เรียน
1.2 การเรียนรู้จากการสังเกตการณ์ปฏิบัติของตัวแบบ พร้อมได้รับคำชี้แนะความช่วยเหลือการเสริมต่อการเรียนรู้ จากตัวแบบจะช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาจากขั้นที่เป็นอยู่ไปขั้นที่สูงขึ้น
1.3 การกำหนดภาระงานที่เพิ่มความซับซ้อนและหลากหลายจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาสมรรถนะไปตามลำดับ
1.4 การสะท้อนผลการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจและมีการพัฒนาตนเอง ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
2. ผลการยกร่างรูปแบบการพัฒนาสุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพะเยา ร่างรูปแบบ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยด้านปัจจัยมี 3 องค์ประกอบได้แก่ ด้านสถาบัน ด้านผู้บริหาร และด้านครูและบุคลากร โดยมี 18 ปัจจัยย่อย องค์ประกอบย่อยด้านกระบวนการ มีองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การวิเคราะห์ การออกแบบ การปฏิบัติและการนิเทศ และการสะท้อนคิด และด้านผลผลิต มี 2 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และชื่อเสียงของโรงเรียน (ผลงานของนักเรียน ครูและผู้บริหาร)
3. กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม จังหวัดพะเยา ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบท กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ให้ได้ตามมาตรฐาน กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ กลยุทธ์ที่ 4 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และชุมชน ในการจัดการศึกษา กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนาการให้บริการหอพักนักเรียน
4. รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดพะเยา ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ 1. องค์ประกอบที่ 1 โครงสร้างคณะกรรมการบริหารการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดพะเยา ได้แก่ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้แทนครูในสถานศึกษา ส่วนหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดพะเยา ได้แก่ กำหนดเป้าหมายและนโยบายการมีส่วนร่วม ส่งเสริมและสนับสนุน การบริหารการมีส่วนร่วม ส่งเสริมและพัฒนาการ มีส่วนร่วมของผู้บริหารและครู กำกับ ติดตาม ประเมินผลและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน 2. องค์ประกอบ ที่ 2 ขอบข่ายงาน การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดพะเยา ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านการร่วมวางแผน ด้านการร่วมดำเนินการและด้านการร่วมติดตามและประเมินผล
5. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารความเสี่ยงด้านการเรียนการสอนพลศึกษา ได้แก่ 1. นโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านการเรียนการสอนพลศึกษาฯ 2. วัตถุประสงค์การบริหารความเสี่ยงด้านการเรียนการสอนพลศึกษาฯ 3. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านการเรียนการสอนพลศึกษาฯ 4. กระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านการเรียนการสอนพลศึกษาฯ
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
Matematics. In L.B. Resnick (Ed.). Knowing, learning and instruction: Essays in honor of Robert Glaser.
Edward. (2005). Statistical Alignment: Computational Properties, Homology Testing and Goodness-of-Fit. J.
Molecular Biology. 30(1): 265 - 279.
Fidler. (2002). Risk Management in Sport and Recreation. Champaign, IL.: Human Kinetics.
Hoy and Miskel. (1982). Guidelines for Risk Management in Sport and Recreation, Justifying the Risk to Others: The
Real Razor’s Edge. The Journal of Experiential Education, 10(1), 16 - 22.
Runcharoen T. (2010). Professionalism in Educational Organization and Administration During the
Educational Reform Era. To Reform Round 2 and Evaluate Outside the 3rd round. 6th edition.
Bangkok: LT Press Co., Ltd.
Rojwisansap N. (2007). Encyclopedia of Teaching Profession Multicultural Education. Bangkok: SorBorKor.
Phakphasiviwat S. (2003). Strategic Management. Bangkok : Amarin Book Center.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษาเพื่อปฎิรูปรอบ 2 และประเมิน
ภายนอกรอบ 3. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: แอล. ที. เพรส จำกัด.
นริศ โรจน์วิศาลทรัพย์. (2550). สารานุกรมวิชาชีพครู การศึกษาพหุวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2546). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์บุ๊คเซนเตอร์.