สถานการณ์และศักยภาพของธุรกิจเชื่อมโยงการท่องเที่ยวรอบแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำพุร้อนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน The Situation and Potentiality of Related Tourism Business Surrounded Hot Springs Attractions in the Upper Northern Provincial Cluster, Thailand

Main Article Content

งามนิจ แสนนำพล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสถานการณ์และศักยภาพของธุรกิจเชื่อมโยงการท่องเที่ยว           รอบแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำพุร้อนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงราย จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน การเก็บรวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยว       โดยการสำรวจภาคสนาม สังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบกิจการ หรือผู้จัดการหรือพนักงานอาวุโสซึ่งมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับธุรกิจเชื่อมโยงการท่องเที่ยวรอบแหล่งน้ำพุร้อน อย่างน้อย 5 ปี         ผลการศึกษา พบว่า ธุรกิจเชื่อมโยงการท่องเที่ยวรอบแหล่งน้ำพุร้อนในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน มีจำนวน 725 แห่ง ประกอบด้วยธุรกิจสปา จำนวน 46 แห่ง ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 303 แห่ง ธุรกิจที่พัก จำนวน 166 แห่ง ธุรกิจการท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 94 แห่ง และธุรกิจอื่น จำนวน 116 แห่ง


              ผลจากการสัมภาษณ์ในประเด็นสถานการณ์ของธุรกิจเชื่อมโยงการท่องเที่ยวรอบแหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำพุร้อน พบว่า ประการที่ 1: สถานการณ์ด้านการเมือง ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มหรือลดของจำนวนลูกค้า รายได้ของธุรกิจ และการจ้างงานคนท้องถิ่นอยู่ในระดับน้อย ประการที่ 2: สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ การเติบโตของเศรษฐกิจ ฤดูกาลท่องเที่ยว ส่งผลต่อการเพิ่มหรือลดจำนวนลูกค้า รายได้ของธุรกิจ และการจ้างงานคนท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด ประการที่ 3: สถานการณ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม ในส่วนของพฤติกรรมผู้บริโภค วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ใส่ใจในสุขภาพ ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการธุรกิจเชื่อมโยงน้ำพุร้อนอยู่ในระดับมาก ประการที่ 4: สถานการณ์ด้านเทคโนโลยี การเข้าถึงเทคโนโลยีของประชากร และจำนวนบุคลากรด้านเทคโนโลยี และการใช้      Wi-Fi มีความสำคัญต่อธุรกิจเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวในระดับมาก ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มหรือลดของจำนวนลูกค้า รายได้ของธุรกิจ และการจ้างงานคนท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก และในส่วนของการวิจัยและพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวนั้นการใช้เทคโนโลยีมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก


              ผลจากการสัมภาษณ์ในประเด็นศักยภาพของธุรกิจเชื่อมโยงการท่องเที่ยว พบว่า ควรพัฒนาศักยภาพด้านการเงิน การตลาด สินค้าและการบริการ ศักยภาพด้านบุคลากร ตามลำดับ


คำสำคัญ: ธุรกิจการท่องเที่ยว  น้ำพุร้อน  กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

งามนิจ แสนนำพล, 0937694371

การศึกษา               

     2557 : ระดับปริญญาโท:      บริหารธุรกิจมหาบัญฑิต (บธ.ม.) การจัดการการบริการและการท่องเที่ยว (นานาชาติ)

                มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

     2549 : ระดับปริญญาตรี:  ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ภาษาฝรั่งเศส (วิชาโท:ภาษาอังกฤษ ) (เกียรตินิยมอันดับ 1)

                 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  1. ประกาศนียบัตรวิชาชีพ:
  2. ประกาศนียบัตรมัคคุเทศก์ทั่วไป (ต่างประเทศ), สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว, ใบอนุญาต เลขที่ 31-05389
  3. ประกาศนียบัตร Certificate of Appreciation ( Pre-opening Team), The Senses Resort, Phuket
  4. ประกาศนียบัตร “ E-Marketing, Social Media Marketing & Search Engine Optimization Training” , Prince of Songkla University, Phuket
  5. ประกาศนียบัตรการอบรมภาษาจีนระดับกลาง, วิทยาลัยสารพัดช่าง ภูเก็ต
  6. ประกาศนียบัตร “โครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรด้าน ITC เพื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ,”มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  7. ประกาศนียบัตรผู้ดำเนินการสปา (Spa manager), กระทรวงสาธารณสุข
  8. ประกาศนียบัตรการอบรมนวดแผนไทย
  9. ประกาศนียบัตร First Aid Training, โรงพยาบาลสิริโรจน์ ภูเก็ต
  10. ประกาศนียบัตร Certificate of Appreciation และ Nomination of Employee of the Month, Four Season Resort, Chiang Mai
  11. ประกาศนียบัตรการอบรมจากฝ่ายบุคคลโรงแรมอนันตรา รสานันดาเกาะพะงัน วิลล่า รีสอร์ท, สุราษฎร์ธานี
  12. ประกาศนียบัตรการอบรมผู้ประกอบการอาหารฮาลาลเพื่อการท่องเที่ยวประจำปี 2557, องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตร่วมกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต

 

  1. ประสบการณ์การทำงาน

               ปัจจุบัน: อาจารย์ประจำสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

                2558-2560: อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารงานโรงแรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย                                                               

                2558: อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

                2555-2558: เลขาผู้จัดการทั่วไปและการสื่อสารการตลาด โรงแรม The Senses Resort Phuket             

                2550-2554: พนักงานต้อนรับและผู้ฝึกอบรมพนักงาน โรงแรม Four Season Resort Chiang Mai

                                                                    

 

  1. ผลงานด้านวิชาการ

2560 : พรรณิภา ซาวคำและคณะ. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเข้าสู่ตลาดธุรกิจโรงแรม จังหวัดเชียงราย Development Local Product to  Marketing for Hotel Business in Chiang Rai Province.วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 

 

2017 : Saennampol, N. "The Green Hotel Practice and Social media: A case study of perception and behavior of green hotels in Chiang Rai and Phuket, Thailand” at The 10th International Conference of HUSOC network on Dynamics of Humanities and social science in cross-border societies on February 2-3, 2017 (proceeding) 

 

2560 : งามนิจ แสนนำพล. รูปแบบธุรกิจชุมชนสำหรับการจัดการแหล่งน้ำพุร้อนที่เหมาะสมของจังหวัดเชียงราย. ASEAN 50 plus: Uniqueness in Diversity ณ สำนักงานใหญ่บริษัทการบินไทย กรุงเทพฯ ในวันที่ 18 สิงหาคม 2560 (proceeding)

 

References

Chaoprayoon, P. et al. (2016). The promoting spa business matching by local wisdom. Bangkok: Biodiversity-Based Economy Development Office (Public Organization). (in Thai)

Chen, C. J., and Li, W. C. (2017). “A study of service quality in hot-spring hotels for seniors”. International Journal of Organizational Innovation 9(3): 84-100.

Chen, K. H., Liu, H. H. and Chang, F. H. (2013). “Essential customer service factors and the segmentation of older visitors within wellness tourism based on hot springs hotels”. International Journal of Hospitality Management 35: 122-132.

Global Sustainable Tourism Council. (2019). GSTC criteria overview. https://www.gstcouncil.org/ gstc-criteria/. December 24, 2019.

Goeldner, C. R. and Ritchie, J. B. (2012). Tourism: Principles, practices, philosophies. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.

Heung, V. C. and Kucukusta, D. (2013). “Wellness tourism in China: Resources, development and marketing”. International Journal of Tourism Research 15(4): 346-359.

Homchan, U, et al. (2013). Study environment, hydrology, hydrogeology and hot water spring tourism development in the western Thailand. Faculty of Science, Kasetsart University. (in Thai)

Hongsub, A and Pookaiyaudom, G. (2015). “The guidelines for developing hot spring resource in health tourism destination management in northern Thailand”. Journal of Sports Science and Health 16(3): 76-90. (in Thai)

Leawroongruang, A. (2011). Thai tourists behavior for visiting San Kamphaeng hot spring in Chiang Mai provinve. Master’s thesis in Economics: Chaing Mai University. (in Thai)

Lee C. F. and King B. E. (2008). “Using the Delphi method to assess the potential of Taiwan's hot springs tourism sector”. International Journal of Tourism Research 10(4): 341-352.

Mi C., Chen Y., Cheng C. S., Uwanyirigira J. L. and Lin, C. T. (2019). Exploring the determinants of hot spring tourism customer satisfaction: Causal relationships analysis using ISM. Sustainability 11(9): 2613.

Sritong, A. (2016). “Hot spring (Onsen) : An Innovation of tourism management for health and therapy by community’s participation”. Journal of MCU Social Science Review 5(2): 179-191. (in Thai)

Tata J. A., and Prasad S. (2015). “Immigrant family businesses: Social capital, network benefits and business performance”. International Journal of Entrepreneurial Behavior & Research 21(6): 842-866.

Tatsuo U. (2017). Hot springs in Thailand. Proceeding of The 7th BENJAMITRA NETWORK National & International Conference on From Sufficiency Economy to Sustainable Development 5(May 27, 2017): 98-102.

Thai Hot Spring Club. (2017). The development and challenges of hot springs resorts & spa in Thailand. Documentation for seminar. Thai Hot Spring Club. (in Thai)

(In Thai)

ปานแพร เชาวน์ประยูร และคณะ. (2558). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ การส่งเสริมจับคู่ธุรกิจสปาโดยใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (องค์กรมหาชน).

สโมสรน้ำพุร้อนไทย. (2559). The development and challenges of hot springs resorts & spa in Thailand. กรุงเทพฯ: สโมสรน้ำพุร้อนไทย.

อธิป เหลี่ยวรุ่งเรือง. (2555). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเที่ยวนำพุร้อนสันกำแพงในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรรณพ หอมจันทร์ และคณะ. (2557). สภาพแวดล้อม อุทกวิทยา และคุณภาพน้ำเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนในภาคตะวันตกของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อริศรา ห้องทรัพย์ และ กุลพิชญ์ โภไคยอุดม. (2555). “แนวทางพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแหล่งน้ำพุร้อนในภูมิภาคทางตอนเหนือของประเทศไทย”. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ 16(3): 76-90.

เอื้อมทิพย์ ศรีทอง. (2016). “น้ำพุร้อน (Onsen): นวัตกรรมการจัดการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและบำบัดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน”. Journal of MCU Social Science Review 5(2): 179-191.