พุทธจิตวิทยาเพื่อลดการฆ่าตัวตายโดยพิธีกรรมสืบซะตาในล้านนา

Main Article Content

พระครูกิตติพัฒนานุยุต

บทคัดย่อ

   งานวิจัยเรื่องพุทธจิตวิทยาเพื่อลดการฆ่าตัวตายโดยพิธีกรรมสืบซะตาในล้านนามีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประกอบไปด้วย 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาการสืบซะตาในล้านนา และ 2)ประยุกต์ใช้สืบ ซะตาในล้านนาและเสริมสร้างพลังจิตวิญญาณการลดปัญหาฆ่าตัวตาย ตลอดจนถึง 3) วิเคราะห์พุทธจิตวิทยาเพื่อลดการฆ่าตัวตายโดยพิธีกรรมสืบซะตาในล้านนา พบว่าการฆ่าตัวตายเป็นเรื่องที่เกิดจากภายในสภาพจิตใจของผู้กระทำนั้น ในทางพระพุทธศาสนาจึงต้องมีหลักในการพัฒนาชีวิตอย่างถูกต้อง โดยให้พุทธศาสนิกชนดำเนินชีวิตไปในวิถีที่ถูกต้องตามหลักอริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นแนวทางการดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ของชีวิต จะได้ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติสามารถแก้ไขปัญหาชีวิตหรือทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุเป้าหมายของชีวิต รู้จักฝึกฝนตนเองให้มีจิตใจเข้มแข็งและทนต่อสภาวะอารมณ์ต่างๆ ได้ ซึ่งพระสงฆ์ต้องทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนและเป็นที่พึ่งทางใจให้แก่บุคคลนั้น เน้นการสอนให้รู้จักพัฒนาจิตใจด้วยการทำสมาธิภาวนาหรือการปลูกฝังคุณธรรมให้รักในคุณค่าของชีวิต สอนให้เข้าใจในหลักคำสอนอริยสัจ 4 อันเป็นหลักความจริงของชีวิต และสร้างกำลังใจให้แก่บุคคลที่กำลังจะคิดฆ่าตัวตาย/ผ่านการฆ่าตัวตายมาแล้ว เพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติอีกครั้งด้วยสาเหตุนี้พิธีกรรมสืบซะตามีอิทธิพลอย่างมาก เกิดจากความเชื่อของผู้ที่หมดหวัง ท้อแท้ในชีวิต เป็นอุบายที่ใช้อบรมสั่งสอนคนนับตั้งแต่เด็ก ๆ ให้เข้าใจศาสนาไปตามลำดับอายุและความรู้ อย่างเป็นขั้นตอน ทั้งนี้เพราะพิธีกรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย และในกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตพิธีกรรมจะส่งเสริมคุณค่าทางจิตใจของบุคคลที่ประกอบพิธี หรือเข้าร่วมในพิธีกรรมให้เกิดความบริสุทธิ์ใจความสามัคคี ความเห็นอกเห็นใจ ความช่วยเหลือเอื้ออาทรซึ่งกันและกันด้วยความเสียสละ พิธีกรรมจึงมีความหมาย มีบทบาทอันสำคัญต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ที่เจ็บไข้ได้ป่วย และต่อสังคมโดยรวมด้วย ตลอดจนถึงพิธีสืบชะตาเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวล้านนาที่เชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุหรือต่อชีวิตของบ้านเมืองหรือของคนให้ยืนยาว มีความสุข ความเจริญ ตลอดจนเป็นการขจัดภัยอันตรายต่างๆที่จะบังเกิดขึ้นให้แคล้วคลาดปลอดภัยจึงทำให้ลดปัญหาลดการฆ่าตัวตายได้ในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล. (2540). “การลดปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทย”. ในชีวิตไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3.สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,ชุดฮีตฮอยเฮา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

นริสา วงศ์พนารักษ์. (2548). “การบำบัดทางจิตเวชและการให้การพยาบาล”. ในชีวิตไทย, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:อภิชาตการพิมพ์.