พลวัตของกาดเมืองเชียงตุงในบริบทการค้าและความเป็นชาติพันธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานศึกษาเป็นการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวิถีเศรษฐกิจกับพหุชาติพันธุ์ในระบบตลาด “กาดเมือง เชียงตุง” รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งท้ายที่สุดนำไปสู่การเกิดพลวัตของศูนย์กลางการคมนาคมและชุมทางการค้า โดยมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ อาทิขึน ไตโหลง ลื้อ หลอย จีนฮ่อ อาข่า พม่าและอินเดีย ประกอบกันเป็นเครือข่ายที่มีความชำนาญเฉพาะด้านในกระบวนการผลิต การจัดหาสินค้า รูปแบบการขนส่งสินค้า ในช่วงแรกชนชาติพันธุ์เหล่านี้ถูกแบ่งช่วงชั้นทางสังคมภายใต้การปกครองของระบบเจ้าฟ้า โดยมีกลุ่มชาติพันธุ์ขึน เป็นผู้เล่นหลักเรื่อยมาจนถึงสมัยอาณานิคมที่ระบบเศรษฐกิจสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมป่าไม้และแร่ธาตุของกลุ่มชนชั้นสูงและเครือญาติ ผลที่ตามมาในช่วงนี้คือการไหลบ่าของคนในบังคับอังกฤษสู่พื้นที่นี้เพื่อทำงานในภาคอุตสาหกรรม ท้ายที่สุดก็อยู่อาศัยอย่างถาวรในเมืองเชียงตุง จนมีสถานภาพและบทบาททางสังคมเพิ่มสูงขึ้นในระบบตลาด “กาดเมืองเชียงตุง” ในเวลาต่อมา
ช่วงที่สองสืบเนื่องจากระบบสังคมนิยมตามวิถี เกิดการขาดแคลนสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภคภายในประเทศ ท้ายที่สุดจึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดระบบตลาดมืดและการค้าสินค้าผิดกฎหมายบริเวณตลอดแนวชายแดนไทยและจีนอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งช่วงที่สามเมื่อระบอบสังคมนิยมตามวิถีพม่าล่มสลายใน ค.ศ. 1988 มีการเปิดประเทศและมีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศจากนโยบายการค้าชายแดนไทย – เมียนมา ด้านด่านแม่สาย – ท่าขี้เหล็ก (ค.ศ. 1992) และจีน ผ่านโครงข่ายเส้นทางแนวเหนือ – ใต้ (Northern Corridor) เส้น R3B ซึ่งเชื่อมแม่สาย – เชียงตุง – เชียงรุ่ง (ค.ศ. 2003) นำไปสู่การค้าชายแดนเต็มรูปแบบ รวมถึงการส่งเสริมให้เมืองเชียงตุงเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของพม่า การปรับตัวให้เข้ากับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งผลทำให้บางกลุ่มชาติพันธุ์เช่นหลอยและอาข่า ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเพียงชนชาติพันธุ์ชายขอบในระบบเจ้าฟ้าและรัฐบาลทหาร สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้เป็นอย่างดีในโลกเสรีนิยมใหม่ ด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลายในการสร้างความมั่งคั่งและพัฒนาสถานะทางสังคมของตนให้หยัดยืนได้อย่างมั่นคง ในบริบทของการค้าและด้วยทรัพยากรวัฒนธรรมของพวกเขา
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
Hallett, Holt Samuel. (1890). A thousand miles on an elephant in the Shan states. Toronto: W. Blackwood.
กำนันจัน วงศ์ใหญ่. อดีตกำนันบ้านกางนาโหลง เขต 4. 13 เมษายน 2561. สัมภาษณ์.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2545). วิถีชุมชน : คู่มือการเรียนรู้ ที่ทำให้ชุมชนง่าย ได้ผลและสนุก. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2548). “ระบบเศรษฐกิจ,” ใน แนวความคิดพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม (น. 48 -57). เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คุณยายร้านโรตีโอ่ง. 15 เมษายน 2561. สัมภาษณ์.
จาย แสงลัง. คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงตุง. 8 เมษายน 2561. สัมภาษณ์.
เจ้าหน้าที่ดูแลกาดเมืองเชียงตุง. 10 กุมภาพันธ์ 2561. สัมภาษณ์.
ชาย โพธิสิตา. (2548). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ดำรงพล อินทร์จันทร์. (2547). “ตลาดชายขอบของมอญพลัดถิ่น”. ใน สมรักษ์ ชัยสิงกานนท์ (บก.), ตลาดในชีวิต ชีวิตในตลาด (น. 207-262). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
นิติ ภวัครพันธุ์. (2558). ชวนถก “ชาติ” และ “ชาติพันธุ์. กรุงเทพ: ศยาม.
บ. บุญค้ำ. (2499). เที่ยวเมืองเชียงตุงและแคว้นสาละวิน. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.
ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2551). “การค้า พื้นที่และอัตลักษณ์ม้งดอยปุย.” ใน ยศ สันตสมบัติ (บก.), อำนาจ พื้นที่และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองวัฒนธรรมของรัฐชาติในสังคมไทย (น. 119-169). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ป้าซาลีมาบีบี แม่ค้าขายข้าวมันไก่ กาดหลวงเมืองเชียงตุง. 9 กุมภาพันธ์ 2561. สัมภาษณ์.
พรพิมล ตรีโชติ และคณะ. (2542). ชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์. (2554). อาข่าไนท์บาซาร์ การค้ากับการเป็นชาติพันธ์. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
แม่ค้าร้านขายเสื้อผ้าพื้นเมือง กาดหลวงเมืองเชียงตุง. 13 เมษายน 2561. สัมภาษณ์.
แม่ค้าร้านขายหม้ออลูมีเนียมชาวลื้อและอดีตแม่ค้าอัญมณีในระบบตลาดมืด กาดเมืองเชียงตุง. 14 เมษายน 2561. สัมภาษณ์.
แม่ค้าหาบเร่ขายผลไม้แปรรูป กาดหลวงเมืองเชียงตุง. 15 เมษายน 2561. สัมภาษณ์.
แม่ตาน แม่ค้าขายกุ้งแช่แข็ง กาดหลวงเมืองเชียงตุง. 9 กุมภาพันธ์ 2561. สัมภาษณ์.
ไม่ปรากฏผู้แต่ง. (2559). “การวิจัยเชิงสำรวจ,” สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2561. เข้าถึงจาก http://hq.prd.go.th/lan/ewt_dl_link.php?.
ร้านรับแลกเงิน กาดหลวงเมืองเชียงตุง. 12 กุมภาพันธ์ 2561. สัมภาษณ์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุมิตร ปิติพัฒน์และเสมอชัย พูลสุวรรณ. (2542). ชุมชนและการสืบทอดวัฒนธรรมของไทใหญ่ในประเทศสหภาพพม่า. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2547). “ทบทวนแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์ข้ามยุคสมัยกับการศึกษาในสังคมไทย”. ใน ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. ว่าด้วยแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุยวิทยาสิรินธร, 3-4.