รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2

Main Article Content

ณัฏฐณิชา คำยะอุ่น

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 โดยมีขั้นตอนของการวิจัย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ 1. ศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัญหาและความต้องการการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 2. ศึกษาและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน 3. พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 โดยมีขั้นตอนย่อย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. สร้างรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 (ฉบับร่าง) 2. ตรวจสอบและยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 3. นำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ผลการวิจัยมี ดังนี้
   สภาพการดำเนินงาน ปัญหาและความต้องการการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 พบว่า
   - สภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย
   - ปัญหาการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก จากคำถามปลายเปิด สรุปประเด็นที่น่าสนใจได้ ดังต่อไปนี้ ครูขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน ขาดงบประมาณในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ครูมีภาระงานสอนและงานนอกเหนือจากการสอนมากเกินไป ทำให้ไม่มีเวลาในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ระบบอินเตอร์เน็ตของโรงเรียนไม่มีประสิทธิภาพ เสียบ่อย ครูขาดความตระหนักในการแก้ปัญหานักเรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมและครูไม่ทำงานวิจัยทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลปัญหาของนักเรียนมากพอ
   - ความต้องการการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จากคำถามปลายเปิด สรุปประเด็นที่น่าสนใจได้ ดังต่อไปนี้ จัดสรรงบประมาณในการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ จัดอบรมและพัฒนาให้ครูมีความรู้ ความสามารถในเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน ระบบอินเตอร์เน็ตของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพเพื่อค้นคว้าหาแหล่งความรู้ในการทำวิจัยในชั้นเรียน แรงจูงใจและสิ่งจูงใจจากผู้บริหารโรงเรียนในเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู นโยบายและผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบ สรุปที่ชัดเจน จริงจัง ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา เวทีในการนำเสนอผลงานและเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในเรื่องการทำวิจัยในชั้นเรียน
   รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสรุปรวมได้ 5 ด้าน ที่สำคัญคือ 1) ด้านนโยบายและการบริหารจัดการงานวิจัยในชั้นเรียน 2) ด้านการติดตามและประเมินผลงานวิจัยในชั้นเรียน 3) ด้านการพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน 4) ด้านการบริหารคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียน 5) ด้านการเผยแพร่ผลงานและการนำผลงานวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ประโยชน์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
   รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ซึ่งประกอบไปด้วย องค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนนำ ส่วนที่ 2 เป็นรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 มี 5 ด้าน คือ 1. การกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการงานวิจัยในชั้นเรียน 2. การพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน 3. การบริหารคุณภาพงานวิจัยในชั้นเรียน 4. การติดตามและประเมินผลงานวิจัยในชั้นเรียน 5. การเผยแพร่ผลงานและการนำผลงานวิจัยในชั้นเรียนไปใช้ประโยชน์ ส่วนที่ 3 เป็นการบริหารสู่ความสำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณภชนก กำลังเกื้อ. (2541). ความคาดหวังและการประเมินการดำเนินการจริงของนักวิจัยที่มีต่อการบริหารงานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร

ณัฏฐณิชา คำยะอุ่น. (2558). รายงานการสำรวจการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2. น่าน: โรงเรียนบ้านเชียงแล นาทราย.

นวพร กวางแก้ว. (2547). การศึกษาสภาพและปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียน กรณีศึกษาของครูผู้สอน กลุ่มโรงเรียนพระยาพิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 จังหวัดอุตรดิตถ์. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. สืบค้นจาก
ฐานข้อมูลงานวิจัย ThaiLis
ปาริชาติ พุกชื่น. (2555). การพัฒนาแผนพัฒนาการบริหารจัดการงานวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

พูลสุข หิงคานนท์. (2540). การพัฒนารูปแบบการจัดองค์การของวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรวดี เทพพิทักษ์. (2550). การบริหารงานวิจัยในชั้นเรียนของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2552). รูปแบบการบริหารงานวิจัยในมหาวิทยาลัยเอกชน. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2558, จาก ศรุดา ชัยสุวรรณ : https://www.gotoknow.org/posts/312324

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2547). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของคณบดี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.

สมภพ บุญเที่ยงตรง. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิจัยในชั้นเรียน. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. สืบค้นจากฐานข้อมูลงานวิจัย ThaiLis Digital Collection.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). รวมกฎหมายการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุรัตน์ ศรีดาเดช. (2559). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนของสถานศึกษาขนาดเล็ก. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 9(2), 161–175).

สุวิมล ว่องวานิช. (2544). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน(Classroom Action Research). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรชา เขียวมณี. (2556). การใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.

Eisner, E. (1976). “Education Connoisseurship and Criticism : Their Form and Functions in Educational Evaluation,” Journal of Aesthetic Education.