ยุทธศาสตร์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาใน โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2

Main Article Content

ชยพล คำยะอุ่น

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 โดยมีแผนการวิจัยใน 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินงาน ปัญหาและความต้องการการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหาร ครูวิชาการ ครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 1และครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาน่าน เขต 2 จำนวน 48 โรงเรียน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 192 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสำรวจ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปสาระสำคัญ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาและประเมินยุทธศาสตร์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 จำนวน 48 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบสอบถามและจัดประชุมสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปสาระสำคัญ ขั้นตอนที่ 3 พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ทางการศึกษา จำนวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปสาระสำคัญตามประเด็น ผลการวิจัยมี ดังนี้
   ยุทธศาสตร์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 สภาพการดำเนินงาน ปัญหาและความต้องการการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับปัญหาการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง จากแบบสอบถาม สรุปประเด็นสำคัญคือ ครูขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ได้รับการอบรมพัฒนา ในเรื่องการดำเนินการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา จำนวนครูไม่เพียงพอ ครูมีภาระงานสอนและงานมากเกินไป ทำให้ไม่มีเวลาในการปฏิบัติงานตามคำสั่ง ส่วนความต้องการการบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก จากแบบสอบถาม สรุปประเด็นสำคัญคือ ควรมีการอบรมให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการดำเนินตามยุทธศาสตร์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ต้องการมีครูที่เพียงพอ และต้องการให้มีการสนับสนุนเงินงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด
   การศึกษายุทธศาสตร์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก พบว่ามี 5 ยุทธศาสตร์คือ 1) สร้างโอกาสทางการศึกษา 2) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 3) พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน 4) เสริมสร้างความเข้มแข็งและความพร้อมในการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษา และ5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
   การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ประกอบด้วย องค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1) ส่วนนำ 2) ยุทธศาสตร์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก มี 9 ยุทธศาสตร์คือ 1) สร้างโอกาสทางการศึกษา 2) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา 3) พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน 4) เสริมสร้างความเข้มแข็งและความพร้อมในการเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษา 5) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา 6) การบริหารหลักสูตร มาตรฐานและตัวชี้วัดผู้เรียนที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนขนาดเล็ก 7) ส่งเสริมการระดมทรัพยากรที่เพียงพอในการจัดการศึกษา 8) ส่งเสริมการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับโรงเรียนขนาดเล็ก และ9) การประชาสัมพันธ์และการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ โดยมีจุดเน้นที่สำคัญ 4 ด้าน คือ 1) การพัฒนาระบบการวางแผนและการบริหารจัดการให้ชัดเจน 2) การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศด้วย ICT 3) การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา และ4) การพัฒนาผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนและมีขั้นในการพัฒนายุทธศาสตร์ 4 ขั้น คือ ขั้น ที่ 1การตรวจสอบสภาพแวดล้อม ขั้นที่ 2 การจัดทำยุทธศาสตร์ ขั้นที่ 3 การนำยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ ขั้นที่ 4 การควบคุมและประเมิน ส่วนที่ 3 เป็นการบริหารสู่ความสำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2547). การจัดการความรู้. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2558, จาก
www.m-society.go.th/document/news/news_1277.doc

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.

ขวัญทิพย์ ชินเศรษฐวงศ์. (2557). ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ประชาคมอาเซียน. (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร.

จรุญ จับบัง. (2555). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์ การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยกระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.ชลบุรี.

จิระ พระสุพรรณ. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ชลบุรี.

ดำรง วัฒนา. (2547). ยุทธศาสตร์การบริหารภาครัฐ หลักการและวิธีการ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย ชิวปรีชา และคณะ. (2551). แนวทางการบริหารโรงเรียนนิติบุคคลในกำกับของรัฐ: กรณี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ไธพัตย์ สุนทรวิภาต. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 9(3), 23 – 33.

สนานจิตร สุคนธทรัพย์. (2546). บริบททางการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

. (2558). แผนยุทศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ. 2558-2561. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สุทัศน์ ลาหมองแคน. (2550). การปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

อรชา เขียวมณี. (2556). การใช้วงจรคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามทัศนะของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.

Eisner, E. (1976). “Education Connoisseurship and Criticism : Their Form and Functions in Educational Evaluation,” Journal of Aesthetic Education.

Stephen P. Robbin. (1999). Management. New jersey: Prentice – Hall Inc.

Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2012). Concepts in strategic management and business policy (13th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson.