พลวัตของการบริหารจัดการที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1

Main Article Content

วรกมล สุตะวงค์

บทคัดย่อ

   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 2. เพื่อศึกษาพลวัตหรือปัจจัยสำคัญและองค์ประกอบของการบริหารและการจัดการศึกษาที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research ) ในรูปพหุกรณีศึกษาใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์แก่นสาระ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) การคัดเลือกพื้นที่เพื่อเป็นสนามในการศึกษาได้พิจารณาและกําหนดพื้นที่ คือ โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นโรงเรียนขนาดกลางมีจำนวนนักเรียน 121 - 499 คน จำนวน 3 โรงเรียน และได้จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนที่มีผลคะแนนสอบสูงที่สุด สูงๆต่ำๆ และต่ำที่สุด จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนไทยเจริญ โรงเรียนแม่เผื่อใน และโรงเรียนชนแดน (ใช้ชื่อสมมุติเพื่อประโยชน์ในให้เกียรติและชื่อเสียงของโรงเรียน) เหตุผลในการเลือกโรงเรียนเป็นการศึกษาพหุกรณีศึกษาเพื่อเปรียบเทียบ (Comparative Case Studies) เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) จำนวน 4 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 สำหรับ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่มสาระ และครู ชุดที่ 2 สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษา ชุดที่ 3 สำหรับนักเรียน ชุดที่ 4 สำหรับผู้ปกครองนักเรียน บุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 5 คน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ 3 คน หัวหน้าฝ่ายงบประมาณ 3 คน หัวหน้าฝ่ายบุคคล 3 คน หัวหน้าฝ่ายกิจการนักเรียน 1 คน หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป 3 คน ครู 20 คน นักเรียน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 10 คน สมาคมศิษย์เก่า 5 คน ครูอาวุโสที่เกษียณอายุราชการ 5 คน และผู้ปกครองนักเรียน 5 คน รวมทั้งสิ้น 83 คน การเลือกบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญใช้วิธีสุ่มโดยใช้วิจารณญาณ (Purposive Sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบก้อนหิมะ (Snowball Sampling)
   ผลการวิจัยพบว่า
   1. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2552-2557 ในภาพรวมคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนไทยเจริญ มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นทุกปีการศึกษา โรงเรียนแม่เผื่อใน มีค่าเฉลี่ยสูงต่ำสลับกันทุกปีการศึกษา และโรงเรียนชนแดน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดทุกปีการศึกษา
   2. ปัจจัยที่เป็นพลวัตมี 6 องค์ประกอบที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษา คือ 1. พื้นที่การศึกษา 2. ปัจจัยนำเข้าที่สำคัญคือ ตัวนักเรียน 3. กระบวนการบริหารจัดการ 4. การจัดการเรียนการสอน 5.กระบวนการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม 6. ระบบเครือข่ายผู้ปกครอง
   3. องค์ประกอบในการบริหารจัดการศึกษา มีอยู่ 6 ประการ ได้แก่ 1.ด้านการนำองค์กร 2. ด้านการวางแผนการทำงานเชิงกลยุทธ์ 3. ด้านการรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 4. ด้านกลไกของระบบงาน 5. ด้านบุคลากร 6. ด้านความสำเร็จของโรงเรียนในภาพรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พนม พงษ์ไพบูลย์. (2536). “คิดแบบอินเดีย”. สยามโพสต์. (7): 27.

วิญญู เมืองนาค. (2546). ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญในโรงเรียนประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา 1

จังหวัดหนองบัวลําภู. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2553). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2551 - 2552 ฝ่าวิกฤติการปฏิรูปการศึกษาสู่สังคมและการเรียนรู้.กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). แนวคิดและประสบการณ์บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร:พิมพ์ดี.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2528). คู่มือการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ คุรุสภา.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2550). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2550 ปมปฏิรูป. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี

Office of the Basic Education Commission. (2006). Ministry of Education. Bangkok: Ministry Education.

Office of the National Education Commission. (2001). Management concepts and experiences using schools as a base. Bangkok: Type D.

Office of the National Primary Education Commission. (1985). Primary school administration manual. Bangkok: Teacher's council publishing. Phongphaibun P. (1993). "Think as India". Siam Post. (7): 27.

Muangnak W. (2003). Factors that are conducive to teaching and learning that focus on students in schools Primary Education Area 1 Nong Bua Lamphu Province. M.Sc. Education). Khon Kaen: Khon Kaen University.

Nirunthavee S. (2010). Thailand Education Report 2008-2009 through the crisis of education reform to society and learning. Bangkok: Type D.

Nakornthap A. (2007). Thai Education Status Report 2007, Reform Rule. Bangkok: Dee D.