การบริหารงานวิชาการที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วุฒินันท์ โปทาวี

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย ประชากรของการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 600 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 395 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ และตอนที่ 3 เป็นแบบปลายเปิดวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
   ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานวิชาการที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเชียงราย โดยรวมทั้ง 9 ด้านอยู่ในระดับมาก ปัญหาการบริหารงานวิชาการที่สนับสนุน การจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา พบว่า ครูขาดความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดทำหลักสูตร ครูไม่เข้าใจการประเมินตัวชี้วัด หลักเกณฑ์วิธีการประเมินของ สมศ. และระบบประกันคุณภาพ ขาดงบประมาณในการส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนแบบเดิม ๆ ไม่หลากหลาย ขาดงบประมาณในการส่งเสริมสนับสนุนในการจัดทำสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา
  ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานวิชาการที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา คือ ควรส่งเสริมให้ครูศึกษาหลักสูตรแกนกลางให้เข้าใจ ควรกำหนดผู้รับผิดชอบและกำหนดแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้ชัดเจนอย่างเป็นระบบ ควรส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกณฑ์การประเมิน ตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์วิธีการประเมิน ควรจัดสรรงบประมาณใน การส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เหมาะสม จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กระตุ้นให้ผู้เรียน คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นควรวัดและประเมินผล ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา สาระการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้ ประเมินผลตามสภาพจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลนาถ อัจฉริยะสงคราม. (2554). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ดำรงค์ คำภีระปาวงศ์. (2549). การบริหารวิชาการในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ อำเภอเชียงราย จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. การศึกษาอิสระ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซ์เปอร์เน็ท.

ภิญโญ สาธร. (2552). หลักการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.

สมาน อ่อนสระ. (2550). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนชุมชนวัดวังเคียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

สราวุธ พรมเทพ. (2549). การบริหารการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนดอยเวียงผา บ้านปางปู้สิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2. การศึกษาอิสระ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พอยท์.

สมพร พรมชินวงศ์. (2550). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

สมศรี ภู่เจริญ. (2549). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนบ้านเชียงเคี่ยน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. (2554). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 1 (ป.6) ปีการศึกษา 2554. เชียงราย: กลุ่มงานวัดและประเมินผลการศึกษา เอกสารอัดสำเนา.

Atchariyasongkraam K. (2011). A study of the academic administration conditions of the schools under the Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 2. Master Thesis The field of educational administration. Phitsanulok: Naresuan University.

Bunphirom S. (2009). Academic administration. Bangkok: Bookpoint.

Chiangrai Primary Educational Service Area Office, Area 3. (2011). Report of Basic National Testing (O-NET), Level 1 (Primary 6), Academic Year 2011. Chiang Rai: Educational Measurement and Evaluation GroupCopy documents.

Khampharapawong D. (2006). Academic administration in schools providing compulsory education Chiang Rai Chiang Rai province Office of Chiang Rai Educational Service Area 3. Independent Education Master of Education Faculty of Management Studies. Chiangrai: Chiangrai Rajabhat University.

National Institute of Educational Testing Service (2010). Guidelines for the Basic Education Quality Assessment Project for Student Quality Assurance, Academic Year 2010. Bangkok: Office of the Basic Education Commission.

Onsa S. (2007). Problems of academic administration of school administrators and teachers at Wat Wang Khian Community School. Chai Nat Educational Service Area Office Master of Education Thesis Faculty of Management Studies. Bangkok: Chandrakasem Rajabhat University.

Phucharoen S. (2006). Development of instructional management of teachers at Ban Chiang Khian School, Thoeng District, Chiang Rai Province. Independent study Master of Education Faculty of Management Studies. Chiangrai: Chiangrai Rajabhat University

Promchinnawong S. (2007). Academic administration in basic education institutions. Under the Chaiyaphum Educational Service Area Office 3. Master of Education Thesis Faculty of Management Studies. Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima Rajabhat University.

Promthep S. (2006). Administration and Learning Management of Doi Wiang Pha School Ban Pang Poo Singh Under the Chiang Rai Educational Service Area Office 2. Independent Study Master of Education Faculty of Management Studies. Chiangrai: Chiangrai Rajabhat University.

Runcharoen T. (2007). School administration in the age of education reform. Bangkok: Expansion.

Sathorn P. (2009). Principles of educational administration. 5th edition, Bangkok: Wattana Panich.