ข้อผิดพลาดในการเขียนตัวอักษรแบบบอกความหมายและเสียงในภาษาจีนของผู้เรียนชาวไทยและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอน The Errors Analysis and Instructional Proposal Using Chinese Radical Plus Phonetic Characters in Teaching Chinese for Thai Students
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดในการเขียนตัวอักษรแบบบอกความหมายและเสียงในภาษาจีนของผู้เรียนชาวไทย วิเคราะห์สาเหตุของข้อผิดพลาด และเสนอแนะแนวทางในการจัดการเรียนการสอนการเขียนตัวอักษรแบบบอกความหมายและเสียงในภาษาจีนสำหรับผู้เรียนชาวไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่ลงทะเบียนในปีการศึกษา 2/2561 จำนวน 100 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบการใช้อักษรแบบบอกความหมายและเสียงภาษาจีน
ผลการวิจัยพบว่า ข้อผิดพลาดในการใช้อักษรแบบบอกความหมายและเสียงของนักศึกษา ผิดพลาดมากที่สุด คือ ประเภทส่วนแสดงความหมายอยู่ด้านบน ส่วนแสดงเสียงอยู่ด้านล่าง คิดเป็นร้อยละ 69.6 รองลงมา คือ ประเภทส่วนแสดงความหมายอยู่ด้านขวา ส่วนแสดงเสียงอยู่ด้านซ้าย คิดเป็นร้อยละ 60.8 สาเหตุข้อผิดพลาดแบ่งเป็น 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ สาเหตุจากคำพ้องเสียงของอักษรแบบบอกความหมายและเสียง สาเหตุจากความใกล้เคียงของตัวอักษรจีนทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสน และ สาเหตุจากผู้เรียนไม่เข้าใจหลักการเขียนตัวอักษรจีน แนวทางในการจัดการเรียนการสอน (1) ครูผู้สอนควรนำกลวิธีการประดิษฐ์ตัวอักษรจีนดังกล่าวมาช่วยในการอธิบายความหมายของตัวอักษรจีน (2) ควรมีการฝึกคัดตัวอักษรภาษาจีนให้มาก และมีรูปแบบการฝึกฝนที่หลากหลาย (3) ควรมีการเน้นย้ำในด้านการสอนลำดับขีด การจำแนกส่วนประกอบของตัวอักษร และรูปแบบการเขียนที่ได้มาตรฐานในภาษาจีน (4) ควรมีการพัฒนานวัตกรรม หรือสื่อมัลติมีเดียที่ช่วยในการศึกษาลำดับขีดหรือการเขียนตัวอักษรจีน และพัฒนาทักษะการจำตัวอักษรจีนของผู้เรียน
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
Ningning, M. (2014). “A Case Study of Chinese Students' Writing Errors in Primary Stage”, New
campus, 01, 21-23.
Wattanawelu, N. (2018). “A Study of Common Errors in the Chinese Writing for Thai Learners: A
Case Study of the First Year Students in Chinese Language Program, Faculty of
Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University, Pattani Campus”. Chinese
Studies Journal, 11(1): 283-314.
Xigui, Q. (1988). Philology. Peking: Commercial Press.
Xin, J and Yanmei, L. (2014). “A Study on the Wrong Writing of Chinese Characters by Foreign
Students on the Alphabetic writing background”. World Chinese Teaching, 01, 60-71.
(In Thai)
ภูมรินทร์ ภิรมย์เลิศอมร. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องข้อผิดพลาดในการเขียนตัวอักษรจีนของนิสิตวิชาเอก
ภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
นารีรัตน์ วัฒนเวฬุ. (2561). “การศึกษาข้อผิดพลาดการเขียนอักษรจีนของผู้เรียนชาวไทย: กรณีศึกษานักศึกษา
ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยา
เขตปัตตานี”. วารสารจีนศึกษา, ปีที่ 11 (1), 283-314.