การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ภาระหนี้สิน และความสามารถในการอยู่รอดของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงราย The Analysis of Liquidity Ratios, Efficiency Ratios, Leverage Ratios And Ability Survive Ratios of Government Hospitals In Chiang Rai Province

Main Article Content

วิมลมาศ ริ้วสุวรรณ

บทคัดย่อ

     


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวโน้มสภาพคล่องทางการเงิน ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ภาระหนี้สิน และความสามารถในการอยู่รอดของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 - 2562 ในภาพรวมและระหว่างกลุ่มตามขนาดของโรงพยาบาล พร้อมทั้งวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่ำ ภาระหนี้สินสูง และความสามารถในการอยู่รอดต่ำของโรงพยาบาลรัฐบาล ซึ่งใช้งบการเงินปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2562 ของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงราย จำนวน 18 แห่ง ทำการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพคล่องทางการเงิน ด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ด้านภาระหนี้สิน และด้านความสามารถในการอยู่รอด โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานค่าเฉลี่ยในการวัดผลอัตราส่วนทางการเงิน และกรณีที่พบแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์พอใช้และเกณฑ์ต่ำ ผู้วิจัยจะดำเนินการสัมภาษณ์นักบัญชีของโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข


ผลการวิจัยพบว่าเมื่อพิจารณาภาพรวมมีแนวโน้มสภาพคล่องทางการเงินและภาระหนี้สินอยู่ในเกณฑ์ดี ความสามารถในการอยู่รอดอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เช่นเดียวกันกับ การวิเคราะห์ระหว่างกลุ่มขนาดโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลแม่ข่าย โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง และโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก แสดงให้เห็นว่าโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงรายมีปัญหาแนวโน้มที่รายได้จากการให้บริการต่ำกว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยโรงพยาบาลจะต้องรับรู้รายได้ให้ครบถ้วน และต้องมีระบบบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล ปัญหาระบบการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล โรงพยาบาลต้องเร่งรัดการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลให้ทันเวลา ปัญหาการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ของโรงพยาบาลที่ก่อให้เกิดรายได้จากการให้บริการยังไม่เต็มที่หรืออาจมีการลงทุนในสินทรัพย์มากเกินไป โรงพยาบาลจะต้องสอบทานความมีตัวตนของสินทรัพย์และค่าเสื่อมราคาสะสมกับทะเบียนคุมสินทรัพย์และงบทดลองในระบบบัญชี ปัญหาโรงพยาบาลขนาดเล็กเปลี่ยนวัสดุเป็นรายได้ช้าทำให้เกิดปัญหาวัสดุคงค้างนาน โรงพยาบาลจะต้องดำเนินการจัดซื้อวัสดุตามแผนการจัดซื้อ พร้อมทั้งบันทึกรับวัสดุเข้าคลังก่อนจ่ายวัสดุให้หน่วยงานย่อย และรายงานวัสดุที่เหลืออยู่ทั้งหมดให้งานบัญชีบันทึกจำนวนวัสดุให้ถูกต้อง และปัญหาระบบบริหารจัดการการจ่ายชำระหนี้ไม่มีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลควรดำเนินการจัดซื้อจัดจัดจ้างให้ถูกต้องตามกระบวนการ และควรมีระบบการควบคุมภายในโดยสอบทานข้อมูลความมีอยู่จริงของเจ้าหนี้กับทะเบียนคุมเจ้าหนี้ พร้อมทั้งจัดทำรายงานเสนอให้ผู้บริหารโรงพยาบาลทราบ


คำสำคัญ: โรงพยาบาลรัฐบาล  สภาพคล่องทางการเงิน  ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน  ภาระหนี้สิน  ความสามารถในการอยู่รอด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Khambuntha, N. (2007). Comparative Financial Statements Analysis with Financial Ratio of Listed Companies un Stock Exchange of Thailand in the Property Development Sector. Research Report. Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. Page 26-42. (in Thai)

Kankeaw, K. (2008). An Analysis of Relation between Budget Allocation on Patient Payment Schemes and Liquidity in Hospitals under the Office of Permanent Secretary, Ministry of Public health. Master of Public Administration. Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Sitthisun, J. (2013). “Comparison Analysis of 2009-2011 Financial Year Situation, Banpong Hospital, Ratchaburi Province”, UTK Research Journal 7(1) : 71-74. (in Thai)

Watanakanjana, C. (2013). “A Study of Financial Standard Ratio in Business Setirs of Listed Companies in The Stock Exchange of Thailand 2005 to 2014”, Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts) 9(3) : 1399-1426. (in Thai)

Khamwongphen, S. (2016). Financial Report Analysis : Guidelines and Case Studies. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Thaipublica. (2016). Crisis of The Thai Public Health System 558 Government Hospitals With Negative Funds Totaling 12,700 Million. From https://thaipublica.org/2017/12/public- health-services-65/. Retrieved 20 January 2019. (in Thai)

Ministry of Public Health. (2017). Criteria for Measuring Financial Status 7 PLUS Efficiency Score. From http://www.spbket10.com/cfo/images/files/Meetting5-6jan60/4.K- Danuphop 7Efficiency Plus2560_V1.pdf. Retrieved 20 January 2019. (in Thai)

Sornruang, W. (2017). Budget Management Problems for State Hospitals. From https://siamrath

.co.th/n/13208. Retrieved 20 January 2019. (in Thai)

Division of Health Economics and Health Security. (2019). Risk Scoring Plus Assessment Quarter 4/2019. From http://hfo62.cfo.in.th/. Retrieved 23 January 2020. (in Thai)