การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างความเข้มแข็งในชุมชน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างความเข้มแข็งในชุมชน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ทศพล พงษ์ต๊ะ

บทคัดย่อ

 


บทความนี้ต้องการนำเสนอในประเด็นเกี่ยวการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสร้างความเข้มแข็งในชุมชน อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย โดยศึกษาจากกลุ่มอาชีพทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ผ่านการวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งพบว่า หลายกลุ่มประสบกับกัญหาด้านการบริหารจัดการทั้งในแง่ของ จำนวนสมาชิกที่มีน้อย งบประมาณที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ขาดเครื่องมือในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ในขณะเดียวกันก็พบว่าทุนชุมชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่ทำให้การดำเนินงานของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ขับเคลื่อนต่อไปได้ ดังนั้น หากกลุ่มอาชีพเหล่านนี้ได้รับการส่งเสริมหรือสนับสนุนที่ตรงกับความต้องการย่อมทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็งและสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืนต่อไปได้ เนื่องจากทุกองคาพยพนั้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ตั้งแต่ผู้นำที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบคิดของสมาชิกในกลุ่มและส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน ส่วนสมาชิกก็มีบทบาทไม่น้อยไปกว่ากันในฐานะฟันเฟืองที่คอยสนับสนุน แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางความคิดและเกิดทางเลือกในการตัดสินใจโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม ประกอบกับการมีทรัพยากรอันเป็นต้นทุนทางธรรมชาติของชุมชน ซึ่งนับเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการพัฒนากลุ่มอาชีพให้สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็งที่พึ่งตนเองได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง
กันยารัตน์ เพ็งพอรู้. (2555). “การจัดการวิสาหกิจชุมชน”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kanyamon555&month=24-01-2015&group=12&gblog=1. (20 มีนาคม 2559).
บุญร่วม เทียมจันทร์. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: อินส์พัล.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). การจัดการและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. สงขลา. สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นันทิยา หุตานุวัตร และ ณรงค์ หุตานุวัตร. (2547). การพัฒนาองค์กรชุมชน. กรุงเทพมหานคร. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
นุทิศ เอี่ยมใส. (2555). ทุนทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีกับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดเพชรบุรณ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยศิลปกร. นครปฐม.
แบบคำขอจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ตามพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมวิสากิจชุมชน พ.ศ. 2548 (สวช.01). 2548: หน้า 2.
ไพศาล แก้วบุตรดี. (2556). ปัจจัยที่จะนำไปสู่การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. บุรีรัมย์:
สำนักงานเกษตรจังหวัดบุรีรัมย์.
ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์. (2550). การพัฒนาชุมชน. รัฐศาสตร์สาส์น. สืบค้นเมื่อวันที่
25 เมษายน 2559 จาก https://www.gotoknow.org/posts/295403
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. (2548, 18 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 6 : หน้า 13.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (2540, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 55 : หน้า 16.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 : หน้า 22.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2541). การพัฒนาชุมชนแบบจัดการ. กรุงเทพมหานคร. เอมีเทรดดิ้ง.
เสรี พงศ์พิศ. (2548). ฐานคิด จากแผนแม่บทวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร: พลังปัญญา.
สำนักคณะกรรมาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจแลสังคมแห่งชาตินับตั้งแต่ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร. สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.