รูปแบบการทำการเกษตรแบบผสมผสานที่เหมาะสม ต่อลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูงของตำบลแม่สลองนอก จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

กฤษฎิ์พงศ์ ภาษิตวิไลธรรม
ปรัชญาณินทร์ วงศ์อทิติกุล
อัจฉราภัทร์ เขมอัครเจตต์
ณัฐธิดา จุมปา
อัจฉรา สินไชยกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานที่เหมาะสมต่อลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูง ของตำบลแม่สลองนอก จังหวัดเชียงราย  การวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามตัวอย่างเกษตรกรจำนวน 130 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสังเกต การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับผู้นำชุมชนและตัวแทนเกษตรกรจำนวน 10 คน ร่วมกับการใช้ข้อมูลมือทุติยภูมิด้านการเกษตรจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการหารูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานที่เหมาะสมต่อลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ของตำบลแม่สลองนอกโดยนำข้อมูลทั้งหมดมาใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัยและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา เพื่อหาข้อสรุป ผลวิจัยนี้พบว่า รูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานที่เหมาะสมต่อลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูงของตำบลแม่สลองนอกเป็นการเกษตรแบบผสมผสานแบบ “พืชและสัตว์” โดยใช้ชื่อรูปแบบว่า“การผสมผสานแมลงเศรษฐกิจ (ผึ้งโพรง) ในรูปแบบการทำการเกษตร แบบแบบผสมผสานที่เหมาะสมต่อลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นที่สูงของตำบลแม่สลองนอก จังหวัดเชียงราย” ที่อาศัยแนวคิดสำคัญในการสร้างรูปแบบคือ “หลักการการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน” ร่วมกับ “หลักการพิจารณาเลือกรูปแบบไร่นาสวนผสม ของกรมส่งเสริมการเกษตร” ที่ดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการสร้างรูปแบบการเกษตรแบบผสมผสาน โดยเหตุผลสนับสนุนรูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานว่ามีความเหมาะสมต่อพื้นที่สูงของตำบลแม่สลองนอกมีดังนี้ 1) การผสมผสานกิจกรรมการเลี้ยงผึ้งโพรงกับกิจกรรมการเกษตรเดิมของเกษตรกรสามารถทำให้เกิดรูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานได้ จากสาเหตุที่ผึ้งโพรงสามารถช่วยในการผสมเกสรพืชเศรษฐกิจของเกษตรกรได้ 2) กิจกรรมการเลี้ยงผึ้งเป็นกิจกรรมการเกษตรที่ง่ายต่อการเรียนรู้ของเกษตรกร โดยเกษตรกรมีภูมิปัญญาด้านการเลี้ยงผึ้งในธรรมชาติ เพียงแต่ไม่ได้นำมาเลี้ยงในพื้นที่การเกษตรของตนเท่านั้น 3) รูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานนี้มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของเกษตรกรบนพื้นที่สูงของตำบลแม่สลองนอกที่มีลักษณะพึ่งพิงธรรมชาติ 4) รูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานนี้ เกษตรกรไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่ม เพียงแค่ใช้วัสดุที่มีในพื้นที่สำหรับสร้างรังเลี้ยงผึ้งเพื่อเริ่มต้นการเลี้ยง ล่อให้ผึ้งเข้ารัง และให้ผึ้งมีอาหาร โดยอาศัยพืชที่เกษตรกรปลูกในพื้นที่ของตนเองและพืชที่มีอยู่ในบริเวณใกล้เคียงซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้เท่านี้เกษตรกรก็สามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นและเป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ทำการเกษตรบนพื้นที่สูงแบบยั่งยืนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง องค์การมหาชน. (2563). เกี่ยวกับสภาพพื้นที่สูง. สืบค้น 19 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.hrdi.or.th/About/Highland.
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2559). ทำเนียบชุมขนบนพื้นที่สูง ครอบคลุม 20 จังหวัด ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2559. 214 หน้า.
โครงการลดความยากจนในพื้นที่แม่สลอง IUCN . (2555). รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการลดความยากจนในพื้นที่แม่สลอง พฤษภาคม 2553 - พฤษภาคม 2555. 70 หน้า.
กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.(2562). แนวทางการดำเนินงานตามกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561. 28 หน้า.
บรรเทา จันทร์พุ่ม. (2548). เกษตรยั่งยืน ความหมาย รูปแบบ และการพัฒนา. กรมวิชาการเกษตร. 85 หน้า.