บทบาทธรรมนูญ กลไกขับเคลื่อนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง: กรณีกลุ่ม “ฮักน้ำจาง” บ้านนากว้าวกิ่ว ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์บริบทของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน “ฮักน้ำจาง” บ้านนากว้าวกิ่ว (2) เพื่อศึกษา บทบาทธรรมนูญ: กลไกขับเคลื่อนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งของกลุ่ม “ฮักน้ำจาง” บ้านนากว้าวกิ่ว หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปางเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูล คือ ตัวแทนจากครัวเรือน จำนวน 50 ครัวเรือนตัวแทนจากเทศบาลตำบลแม่ทะ จำนวน 3 คน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลบ้านกิ่วจำนวน 1 คน ผู้นำชุมชนจำนวน 6 คนคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 5 คน ประธานกลุ่มจำนวน 1 คน โดยที่ทุกคนมีความเต็มใจให้ข้อมูล จำนวน 66 คน เครื่องมือเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และทำการสังเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิเคราะห์พบว่าสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน “ฮักน้ำจาง” บ้านนากว้าวกิ่ว ส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพหลัก คือทำนาและทำสวนเกษตรกรรม (ทั้งอินทรีย์และเคมี) อาชีพเสริม คือ การเลี้ยงสัตว์และรับจ้าง จึงส่งผลให้รายได้ของคนในชุมชนไม่แน่นอน อีกทั้งคนชุมชนส่วนใหญ่มีปัญหาด้านสุขภาพ อันเป็นผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรมกลุ่มเกษตรกรที่ผ่านมา จึงได้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองและครอบครัว ด้วยการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนขึ้นมา โดยร่วมกันวางแผนในการปลูกพืชผักอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี เพื่อลดสารเคมีตกค้างในพืชผักและสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้วยการระดมสมาชิกกลุ่ม เงินทุนและทรัพยากรผ่านการจัดทำธรรมนูญวิสาหกิจชุมชน“ฮักน้ำจาง”โดยมีข้อสรุป 7 ประการ คือ (1) อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (2) ความสามัคคี (3) ดำเนินชีวิต
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (4) สุขภาพดีทั้งกายและใจ (5) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (6) อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และ (7) สมาชิกหนี้สินลดลง เป็นต้น อันเป็นข้อตกลงพร้อมกันที่จะร่วมกันปฏิบัติของสมาชิก เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งผ่านการมีรายได้เสริมหรือรายได้ถาวรแก่ครอบครัวเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่สมาชิกกลุ่มร่วมกันทำกิจกรรมภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน โดยที่ความเข้มแข็งเป็นผลมาจากสมาชิกมีส่วนร่วมในการทำงานผ่านประสบการณ์ของบุคคลเน้นการแบ่งงานกันทำตามความต้องการและความสามารถอย่างต่อเนื่องผ่านเครือข่ายการทำงานทั้งภายในสมาชิกและภายนอกชุมชนตลอดจนมีการช่วยเหลือเกื้อกูลเสมือนหนึ่งญาติมิตร
คำสำคัญ: ธรรมนูญ, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, กลไกขับเคลื่อนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน, ความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วม
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. แหล่งที่มา (ข้อมูลออนไลน์)
http://www.sceb.doae.go.th/ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฮักน้ำจาง. (2561). 9 ปีที่ก้าวย่างฮักน้ำจางบนเส้นทางสีเขียว. เชียงใหม่: ตุลย์การพิมพ์
บัณชร แก้วส่อง. (2560). ข้อเสนอตัวชี้วัดชุมชนที่มีความเข้มแข็ง. แหล่งที่มา (ข้อมูลออนไลน์)
http://www.thaiichr.org. ค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2563
“พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548” (2548). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 122
6 หน้า 1 – 13
รุ่งสุรีย์ ชัยศร. (2561). การดำเนินงานของกลุ่มฮักน้ำจาง. สัมภาษณ์. วันที่ 18 สิงหาคม 2563
ศรีบุตร รามจักร. (2561). ปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนากว้าวกิ่ว. สัมภาษณ์. วันที่ 22 มิถุนายน 2563
สุรศักดิ์ นานานุกูล. (2559). การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ: ทางอยู่รอดของธุรกิจขนาดย่อม. การสัมมนาเศรษฐกิจ
การเกษตรและการค้าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ไทย - จีน ครั้งที่ 2 ณ นครคุนหมิง มณฑลยูนาน
สาธารณรัฐประชาชนจีน. http://v-reform.org/wp-content/uploads/2012/07
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). สืบค้นเมื่อ 18สิงหาคม 2563, จาก (ข้อมูลออนไลน์).http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
เสรีพงศ์พิศ. (2553). เครือข่าย : ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สถาบัน ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.
Barney, J. B. (1991). Firm resources and sustainable competitive advantage. Journal of Management,
17: 99-120.
Cohen, J. M. , & Uphoff, N. T. (1977). Rural Participation : Concepts and Measures for Project Design,
Implementation and Evaluation. In Rural Development Monograph No. 2 The Rural
Development Committee Center for International Studies, Cornell University.
Denzin, N. K. (1970). Sociological Methods: A Source Book. Chicago: Aldine.
Erwin, W. (1976). Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta,
GA: Georgia State University
Huntington, S. , & Nelson, S. (1975). No Easy Choice: Political Participation in Developing Countries. New York: Harvard University Press.
Putnam, R. D. (2002). Democracies in Flux: The Evolution of Social Capital in Contemporary
Society, New York: Oxford University
Reeder, W.W. (1963). Some Aspects of the Informal Social Participation of Farm Families. New York: Cornell University Press.
United Nations.(1981). Yearbook of International Trade Statistics. United Nations: UN Press.