การศึกษาความต้องการจำเป็นของบริการแนะแนวในนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 (พิษณุโลก อุตรดิตถ์)

Main Article Content

ภาวิดา มหาวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของบริการแนะแนวในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 (พิษณุโลก อุตรดิตถ์) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ รวมจำนวนทั้งสิ้น 435 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามการศึกษาระดับความต้องการจำเป็นของบริการแนะแนวในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประเมินความต้องการจำเป็นด้วยการเรียงลำดับคะแนนด้วยวิธี Modified Priority Needs Index (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำบริการแนะแนวรายข้อทั้งหมดของทุกด้านบริการมาทำการจัดเรียงลำดับ ตามการประเมินความต้องการจำเป็น ด้วยคะแนนประเมิน PINModified โดยทำการคัดสรรเฉพาะข้อที่มีคะแนนประเมิน PINModified สูงสุด 5 ข้อ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความต้องการจำเป็นสูงสุดอันดับหนึ่ง คือ ด้านบริการจัดวางตัวบุคคลเกี่ยวกับการมีทุนการศึกษาที่เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน อันดับสอง คือ ด้านบริการศึกษารวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับการสำรวจความต้องการความช่วยเหลือในการประกอบอาชีพ อันดับสาม คือ ด้านบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการมีห้องให้คำปรึกษาจัดเป็นสัดส่วนเฉพาะ อันดับสี่ คือ ด้านบริการสนเทศการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกันในสังคม และอันดับที่ห้า
คือ ด้านบริการติดตามผลเกี่ยวกับการติดตามผลนักเรียนที่จะมาขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องการเรียนต่อ การประกอบอาชีพและเรื่องส่วนตัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศรา น้องคะนึง และดนิตา ดวงวิไล. (2560). “การพัฒนาแนวทางการบริหารงานแนะแนว โรงเรียนในสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20”. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 8 (1): 129-139.
กฤตวรรณ คำสม. (2557). การแนะแนวเบื้องต้น (Introduction to Guidance). http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/17g8Ak8g9g9sO51p1Ysf.pdf. 8 มิถุนายน 2564
คฑาวุธ ขันไชย. (2561). “การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39”. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2 (2): 1-22.
งานนโยบายเศรษฐกิจแรงงานมหภาค กองเศรษฐกิจการแรงงาน. (2564). สรุปข้อมูลเศรษฐกิจแรงงาน ม.ค. 64. http://warning.mol.go.th/uploadFile/pdf/pdf-2021-03-04-1614820105.pdf. 4 มิถุนายน 2564
นิรุทธ์ วัฒโนภาส และวัลลภา วงศ์ศักดิรินทร์. (2561). “การศึกษาความต้องการการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร” Veridian E-Journal, Silpakorn University 11(1) : 2630-2642.
น้ำฝน ลูกคำ. (2555). ความต้องการและความคาดหวังของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายต่อการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. http://ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/707/1/110-55.pdf. 1 มิถุนายน 2564
มนตรี อินตา. 2562. การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานบริการแนะแนวใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่. http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1939. 4 มิถุนายน 2564
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). การให้คำปรึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
_____. (2559). การแนะแนวแบบมุ่งอนาคต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.