การยกระดับสินค้าและบริการในธุรกิจร้านอาหารด้วยอณูศิลปวิทยาการ: กรณีศึกษาร้านอาหาร Medium Rare จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

มนสิชา อินทจักร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การยกระดับสินค้าและบริการในธุรกิจร้านอาหารด้วยอณูศิลปวิทยาการ: กรณีศึกษาร้านอาหาร Medium Rare จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักพัฒนาการท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรุงอาหารและนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ ได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการปรุงประกอบอาหารขั้นพื้นฐาน Basic Cookery ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรมเข้ากับศาสตร์การประกอบอาหาร เป็นฐานปฏิบัติการทางการศึกษาในการสร้างนวัตกรรมการแปรรูปอาหารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ภาคบริการ สำหรับผลการวิเคราะห์สารอาหารของตำรับอาหารเชิงนวัตกรรมและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสำหรับกลุ่มผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และผู้บริโภคที่ต้องการเปิดประสบการณ์ในการรับประทานอาหารเชิงสร้างสรรค์ อยู่ในระดับระดับสูง และร้าน Medium Rare สามารถนำเสนอเป็นตำรับอาหารต้านอนุมูลอิสระ อาหารต้านความชรา หรืออาหารส่งเสริมสุขภาพเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าโดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดตกแต่งเป็นชุดอาหาร (Set Menu) และจัดเสิร์ฟให้เหมาะสม เป็นสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเพื่อส่งมอบให้กับผู้บริโภค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Alonso, D.A. and O’Neill, M.A. (2010). Exploring consumers’ images of open restaurant kitchen design. Journal of Retail & Leisure Property 9: 247-259.
Burke, R., This, H. and Kelly, A. L. (2016). Molecular gastronomy in Reference module in food science. Elservier Publisher. Available at http://dx.doi.org/10.1016/B978-0-08-100596-5.03302-3
Fooladi, E. and Hopia, A. (2013). Culinary precisions as a platform for interdisciplinary dialogue. Flavour 2:2-4.
Jose M. Aguilera, (2012). The engineering inside our dishes. International Journal of Gastronomy and Food Science, 1, 1, 31-36.
Ozturk, H.E. and Terhorst, P. (2010). Innovative restaurants in a mass-tourism city: Evidence from Antalya. Tourism Management 54: 477-489.
Tüzünkan D. and Albayrak, A. (2015). Research about moleculer cuisine application as an innovation example in Istanbul Restaurants. World conference on technology, innovation and entrepreneurship. Procedia-Social and Behavioral Sciences 195: 446–452.