กระบวนการเสริมสร้างตัวตนหลังการเปิดเผยสถานะการมีเชื้อเอชไอวี ของผู้หญิงชาติพันธุ์ในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

ภูมิรพีภัทร ยุ้งทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงชาติพันธุ์ที่มีเชื้อเอชไอวี 2) ศึกษาขั้นตอนวิธีการเสริมสร้างตัวตนหลังการเปิดเผยสถานะการมีเชื้อเอชไอวีของผู้หญิงชาติพันธุ์ อีกทั้งได้ศึกษาถึงผลของการเสริมสร้างตัวตนของผู้หญิงชาติพันธุ์ได้ส่งผลต่อตัวเอง ครอบครัว และคนรอบข้างอย่างไร โดยการศึกษาครั้งนี้จะเน้นประเด็นความเป็นผู้หญิงที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหญิง-ชาย ความเชื่อ วัฒนธรรมการขัดเกลาความเป็นหญิง-ชาย ขั้นตอนของกระบวนการเสริมสร้างตัวตนผ่านกระบวนการเรียนรู้ และผลของการปรับเปลี่ยนตนเอง ซึ่งวิธีการศึกษาจะศึกษาผ่านเรื่องเล่าจากประสบการณ์ของผู้หญิงชาติพันธุ์จำนวน 10 คน ที่อยู่ร่วมกับเชื้อเอชไอวีมานานกว่า 10 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า การกล่อมเกลาทางสังคม จารีต วัฒนธรรมประเพณี ที่สร้างให้ผู้ชายเป็นใหญ่ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้หญิงเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากผู้หญิงไม่ปฏิบัติตามกรอบที่สังคมวางไว้ก็จะถูกประณามกับคำว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี การสร้างความเป็น ผู้หญิง จะถูกกลมกลืนไปกับหน้าที่ในชีวิตประจำวัน การถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้จะเป็นรุ่นต่อรุ่น เมื่อผู้หญิงจำต้องอยู่ในกรอบที่สังคมสร้างให้ทำให้อำนาจการต่อรองกับผู้ชายมีน้อยลงแม้กระทั่งเรื่องเพศ จากความคิดความเชื่อเหล่านี้ได้ส่งผลต่อชีวิตผู้หญิง นั่นก็คือ การที่สามีไปมีเพศสัมพันธ์กับหญิงอื่นนอกบ้านและรับเชื้อเอชไอวีมาแล้วส่งเชื้อเอชไอวีต่อเธอ ต่อลูกน้อยในส่วนของขั้นตอนการเสริมสร้างตัวตน ผู้หญิงชาติพันธุ์ที่มีเชื้อเอชไอวี สิ่งแรกที่ต้องทำหลังการทราบผลคือต้องยอมรับการมีเชื้อกับตนเองให้ได้ ยอมรับความเป็นจริง ดูตัวอย่างจากคนที่มีเชื้อเอชไอวี ก่อนที่จะเปิดเผยตัวตนในเรื่องของการมีเชื้อเอชไอวีต่อคนในครอบครัวและคนในชุมชน หลังจากเปิดเผยแล้วก็จะมีขั้นตอนในการแสวงหาความรู้ในเรื่องของโรค การรักษา การใช้ยา การอยู่ร่วมกับคนอื่น เมื่อมีความรู้มากขึ้นก็จะนำความรู้ที่มีไปช่วยเหลือเพื่อนผู้มีเชื้อเอชไอวี การเสริมสร้างตัวตนนี้ส่งผลต่อชีวิตในปัจจุบันคือ ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นและเผชิญหน้ากับสังคมโดยเปิดเผย เรียนรู้ที่จะอยู่กับโรคนี้โดยไม่ท้อถอย

Article Details

บท
บทความวิจัย