อนุภาคนิทานสู่ไสยพาณิชย์ : การผลิตเครื่องรางของขลังพญานาคที่วังคำชะโนด Production of Amulet from the Naga Myth Motif in Kham Chanod

Main Article Content

วรเมธ ชัยมงคล

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษารูปแบบและวิธีการการคัดสรรอนุภาคของตำนานและนิทานที่เกี่ยวข้องกับพญานาค เพื่อใช้สำหรับการออกแบบ นิยาม และการผลิตสินค้าในรูปวัตถุมงคลว่าผู้ผลิตได้เลือกอนุภาคใดเข้าไปตีความใหม่หรือใช้ในการผลิตรูปแบบสินค้า ทั้งยังตั้งคำถามต่อการผลิตวัตถุมงคลว่าเราสามารถมองเห็นปรากฏการณ์ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาใดในปัจจัยการผลิตสินค้าเหล่านี้


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ผลิตมักเลือกอนุภาคที่มีลักษณะโดดเด่นด้านความเป็นอภินิหาร และความศักดิ์สิทธิ์ของตำนาน เพื่อมาประกอบกับความศักดิ์สิทธิ์จากการปลุกเสก ภาวะการทับซ้อนของความศักดิ์สิทธิ์ทั้งจากเรื่องเล่าและพิธีกรรม ทำให้วัตถุมงคลมีพลังและมียอดจำหน่ายที่สูง ดึงดูดผู้บริโภคในหันมาบริโภคความหมายในตัวบทนิทานและตำนานมากกว่ารูปลักษณ์ของสินค้า ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าของระบบโลกาภิวัตน์ที่มีผลต่อการผลิตสินค้า โดยการคัดสรรวัฒนธรรมดั้งเดิมเข้ามาผลิตซ้ำ รูปแบบการคัดสรรนี้เองงที่เราจะพบเห็นการปะทะประสานทางวัฒนธรรมและการนิยามความหมายใหม่ต่อสินค้าวัตถุมงคล


 


คำสำคัญ : การผลิต, อนุภาคนิทาน,พญานาค,คำชะโนด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ฆัสรา ขมะวรรณ.(2537). แนวคิดของเรย์มอนด์ วิลเลียมส์ ในวัฒนธรรมศึกษาและการวิเคราะห์วัฒนธรรมบริโภค : วิทยานิพนธ์หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พลธรรม์ จันทร์คำ.(2551). พญานาค : อุดมการณ์ที่เมืองคำชะโนดสู่กระบวนการทำให้เป็นสินค้า : วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ชนบทศึกษาและพัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Craig J. Reynolds.(2019). Power, Protection, and Magic in Thailand: The Cosmos of a Southern Policeman. Australian National University Press

Sawangchotti,W.(2018). “Cultural Industrial and Creative Economy”.Bangkok : Social Enterprise Leadership Center Kasetsart University ( in Thai)