การศึกษา การศึกษาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายด้วยสีธรรมชาติจากใบสาบเสือ

Main Article Content

ณัฐวุฒิ เงาะหวาน
เกษม มานะรุ่งวิทย์

บทคัดย่อ

การศึกษาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายย้อมสีธรรมชาติจากใบสาบเสือ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.การศึกษาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายด้วยสีธรรมชาติจากใบสาบเสือ 2.การศึกษาคุณสมบัติของผ้าย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายด้วยสีธรรมชาติจากใบสาบเสือ การศึกษาพบว่า กระบวนการต้มทำความสะอาดเส้นใยฝ้าย 700 กรัม ใช้น้ำสะอาด 7.5 ลิตร โซดาไฟ 2.5 กรัม โซดาแอส 5 กรัม และ สบู่ 5 กรัม ต้มจุดเดือด 30 นาที การย้อมสีธรรมชาติด้วยใบสาบเสือ พบว่า ใช้ใบสาบเสือสด 500 กรัม น้ำเปล่า 10 ลิตร และเกลือแกง 30 กรัม ย้อมอุณหภูมิมากกว่า 80 องศาเซลเซียส 60 นาที ใช้มอแดนซ์หรือสารช่วยติดสี 4 ชนิด คือ 1)จุนสี อัตราส่วน จุนสี 3 กรัม ต่อ น้ำ 1 ลิตร ให้สีย้อมสีเขียวอ่อน 2)สารส้ม อัตราส่วน สารส้ม 10 กรัม ต่อ น้ำ 3 ลิตร ให้สีย้อมสีเหลืองอมเขียว 3)สนิมเหล็ก อัตราส่วน สนิมเหล็ก 3 กรัม ต่อ น้ำ 1 ลิตร ให้สีย้อมสีเขียวอมเทา 4)ปูนขาว อัตราส่วน ปูนขาว 3 กรัม ต่อน้ำ 3 ลิตร ให้สีย้อมสีเขียวขี้ม้า การล้างสีส่วนเกิน อัตราส่วน น้ำยาล้างจาน 10 ซีซี ต่อ น้ำ 10 ลิตรคุณสมบัติของเส้นด้ายฝ้ายหลังย้อม ความคงทนของสีต่อเหงื่อสภาพด่าง มอแดนซ์สารส้ม อยู่ในระดับ 4 ดี และมอแดนซ์ทุกชนิดไม่ทนต่อเหงื่อสภาวะที่เป็นกรด ความคงทนของสีต่อน้ำ พบว่า มอแดนซ์ปูนขาว อยู่ในระดับ 5 ดีที่สุด ความคงทนของสีต่อการซักล้าง พบว่า มอแดนซ์ จุนสี สารส้ม และปูนขาว อยู่ในระดับ 4-5 ดีถึงดีที่สุด ความคงทนของสีต่อการขัดถูสภาวะแห้ง พบว่า มอแดนซ์ทุกชนิด อยู่ในระดับ 4-5 ดีถึงดีที่สุด ความคงทนของสีต่อการขัดถูสภาวะเปียก พบว่า มอแดนซ์จุนสี อยู่ในระดับ 3 ปานกลาง ความคงทนต่อแสง พบว่า มอแดนซ์จุนสีและปูนขาว อยู่ในระดับ 4 ดีพอใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Areerat Phosuwan. (2015). “Dyeing hand-woven cotton with natural colors”. Department of Science Service Ministry of Higher Edocation, Science, Research and Innovation, 63(19): 25-27 (in Thai).

Jitsopin Pengboou and Suthasini Bureekhampun. (2021). “Study and product development of the natural tied-dye fabric group of BanYang district, Surat Thani province”. AJNU Art and Architecture Journal Naresuan University, 12(1): 225-240 (in Thai).

Manus Chanpoung, Wiyanee Dangkong, Parichat Koonkleang, Supaporn Thanakwang, Natkamon Buaban and Aekkaphob Ninlaphat. (2021). “Development of Tie-dyed from Natural Dye Extracted from Teak Leaves at Ban Mae Phuak, Huai Rai Subdistrict, Den Chai District, Phrae Province”. Journal of Community Development and Life Quality, 12(1): 225-240 (in Thai).

Mek Chanprayoou. (2005). Local vegetables. Bangkok: June Publishing. (in Thai).

Nantawan Bunyaprapat and Oranuch Chokchaicharoenporn. (2000). Folk herbs. Bangkok: People. (in Thai).

Norathep Phothipeng, Srikanjana jatuphatwarodom, Rattanaphol Mongkholrattanasit. (2020). “ColorFastness and Physical Properties of Cotton FabricinSilk Screen Printing with Red Soil”. UTK Research journal, 14(2): 91-103 (in Thai).

Pawinrat Saetang. (2013). “Values Addedon Natural DyedWoven Fabric by NaturalDyeingProcessUsing an Auxiliary Agent from Chae Son Hot Spring, Mueang Pan District,Lampang Province”. Journal of Community Development and Life Quality, 1(1): 9-22 (in Thai).

Prapakorn Sukonthamanee. (2017). “Color of Flora”. Silpakorn University Journal, 37(3): 183-202 (in Thai).

Songphan Wannamas. (2007). Transferring Lanna Local Wisdom to the World. Chiang rai : Lanna. Textile Center Chiang Rai Rajabhat University (in Thai).

Wichachan Wanphonthong. (2005). “natural dyeing”. Department of Science Service Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, 53(168): 35-37 (in Thai).

Veerasak Seerarat and Natsima Tokhun. (2020). “Value Added of Sacred Lotus with Natural Tie-dyed Cotton Wisdom”. Journal of Community Development and Life Quality, 9(2): 205-212 (in Thai).