การพัฒนาแอปพลิเคชันผู้ช่วยเดินทางสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ The Development of Travel Assistant Application for Wheelchair Users

Main Article Content

ธิดาลักษณ์ อยู่เย็น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาและออกแบบแอปพลิเคชันผู้ช่วยเดินทางสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ 2) เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพแอปพลิเคชันผู้ช่วยเดินทางสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชันผู้ช่วยเดินทางสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนมือถือ คัดเลือกด้วยวิธีเจาะจง จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ใช้ แอปพลิเคชันผู้ช่วยเดินทางสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ จำนวน 30 คน เลือกแบบสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน


  1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันผู้ช่วยเดินทางสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ และ 2) เครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชันผู้ช่วยเดินทางสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ ดำเนินการเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

  2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันผู้ช่วยเดินทางสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ ในภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

  3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชันผู้ช่วยเดินทางสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aupayagoson, C. & Panichcharoen, K., ( 2 0 1 4 ) . Education and Development of Navigation

Application to Help The Blind on Mobile Phone. Research Report. Rajamangala

University of Technology Rattanakosin. (in Thai)

Chayapong, C. (2013). Independent Living: a case study of mobility disabled people driving

independently in Bangkok. Academic Services Journal 24(4): 51-64. (in Thai)

Davis,B.,Nies,M.,Shehab,M.&Shenk,D.(2014). Developingapilote-mobileappfordementia caregiver support: Lessons learned. Online Journal of Nursing Informatics 18(1): 1-10.

Khantavchai,A. (2015). Stroke KKU Application.https://www.appdisqus.com/application- stroke-kku-270/ 1 November 2019. (in Thai)

Lawang, W., Suksawatchon, U., Suksawatchon, J. & Tassanatanachai., A. (2019). Developing ‘Smart Caregiving’ Application to Support Caregivers of Persons with Mobility Disability. Research Report. Burapha University. (in Thai)

Ministerial Regulations issued under the Psychotropic Substance Act, B.E. 2555 (2013). Facilities for people with disabilities to be able to access and use Act, B.E. 2555. (in Thai)

Pakdeewatanakul, K. & Kru-utsaha, J. (2003). Database Design. Bangkok: KTP publisher. (in Thai) Phongpaew, T. ( 2 014) . Quality of Life Disabled People in the Subdistrict Administrative OrganizationsinThasalaDistrict,NakhonSiThammaratProvince: FactorsAffecting

and Development. Master of Public Administration. Prince of Songkla University. (in Thai) Sawaidee, P., Toonsiri, C. & Homsin, P. (2016). Factors Related to Self Care Ability among People with Mobility Impairment in Banglamung District, Chon Buri Province. The Journal of Faculty of

Nursing Burapha University 24(1): 89-101. (in Thai)