แนวปฏิบัติที่ดีการบริหารจัดการห้องสมุดประชาชนดีเด่นระดับประเทศ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย Best practice for the management of outstanding public libraries at the national level under the Office of the Promotion of Non-Formal and Informal Education

Main Article Content

รัชนีกร พิมสาร

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีการบริหารจัดการห้องสมุดประชาชนดีเด่นระดับประเทศตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุด สังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษา ได้แก่ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวนทั้งสิ้น 4 แห่ง โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive Sampling) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 4 คน   บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน จำนวน 8 คน  ครูและบุคลากร จำนวน 8 คน  คณะกรรมการห้องสมุดประชาชน จำนวน 8 คน  ผู้รับบริการ จำนวน 8 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 36 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์ และวิเคราะห์ผลการวิจัยโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่าแนวปฏิบัติที่ดีการบริหารจัดการห้องสมุดประชาชนดีเด่นระดับประเทศตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุด สังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พบว่า ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1.  ด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารร่วมกับบุคลากร คณะกรรมการ ภาคีเครือข่ายร่วมกันวางแผนการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับนโยบายจากต้นสังกัดและตามเกณฑมาตรฐานห้องสมุด มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการ สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ การค้นคว้า สร้างแหล่งเรียนที่หลากหลายโดยร่วมกับภาคึเครือข่ายในพื้นที่ มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านระบบเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้และพัฒนาปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพ 2.  ด้านการบริการและกิจกรรม มีการออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้การบริการโดยผ่านสื่อที่หลากหลาย นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำข้อมูลสารสนเทศ การจัดเก็บ ค้นหา เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ จัดหาสื่อต่างๆ กิจกรรมตามความต้องการของผู้รับบริการและสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน 3.  ด้านเทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรม ผู้บริหารส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมสร้างนวัตกรรมรูปแบบใหม่โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ ให้บริการเชิงรุกที่เข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง 4.  ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ห้องสมุดประชาชนมีการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกให้ทันสมัยในยุคปัจจุบัน สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

รัชนีกร พิมสาร, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีการบริหารจัดการห้องสมุดประชาชนดีเด่นระดับประเทศตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุด สังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษา ได้แก่ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวนทั้งสิ้น 4 แห่ง โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive Sampling) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 4 คน   บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน จำนวน 8 คน  ครูและบุคลากร จำนวน 8 คน  คณะกรรมการห้องสมุดประชาชน จำนวน 8 คน  ผู้รับบริการ จำนวน 8 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 36 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์ และวิเคราะห์ผลการวิจัยโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่าแนวปฏิบัติที่ดีการบริหารจัดการห้องสมุดประชาชนดีเด่นระดับประเทศตามกรอบเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุด สังกัดสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พบว่า ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1)  ด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารร่วมกับบุคลากร คณะกรรมการ ภาคีเครือข่ายร่วมกันวางแผนการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับนโยบายจากต้นสังกัดและตามเกณฑมาตรฐานห้องสมุด มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการ สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ การค้นคว้า สร้างแหล่งเรียนที่หลากหลายโดยร่วมกับภาคึเครือข่ายในพื้นที่ มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านระบบเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้และพัฒนาปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพ 2)  ด้านการบริการและกิจกรรม มีการออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้การบริการโดยผ่านสื่อที่หลากหลาย นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำข้อมูลสารสนเทศ การจัดเก็บ ค้นหา เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ จัดหาสื่อต่างๆ กิจกรรมตามความต้องการของผู้รับบริการและสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน 3) ด้านเทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรม ผู้บริหารส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมสร้างนวัตกรรมรูปแบบใหม่โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ ให้บริการเชิงรุกที่เข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง 4) ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ห้องสมุดประชาชนมีการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกให้ทันสมัยในยุคปัจจุบัน สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ

 

References

Boujanaut, L. (2019). Guideline for the Development of Library in Sisaket Rajabhat University. Sisaket Rajabhat University Journal 13(3): 124-134. (in Thai)

Chaimin, C. (2021). The Development of Educational Technology Management Model According to the Library Standard Framework. School for Small Schools Under the Office of the Basic Education Commission. Doctoral Dissertation in Educational Technology and Communications, Naresuan University. (in Thai)

Chaiwong, S. and Moonmark, R. (2018). A Study of Problems and Needs of Library and Learning Center Users Foreign Language Faculty of Humanities and Social Sciences, Chiang Mai Rajabhat University. Research Reported. Chiang Mai Rajabhat University. (in Thai)

Chamniensri, K. (2020). Requirement of the Generation Y People for the Improvement of Public Libraries in Bangkok. Master's Thesis in Management, Mahidol University. (in Thai)

Charoenrat. S. (2016). Good Practice Guidelines for Educational Administration of Sub District Administrative Organizations in Ratchaburi Province. Master's Thesis in Educational Administration, Mu Ban Chom Bueng Rajabhat University. (in Thai)

Library Association of Thailand. (2022, February 28). Announcement of the Library Association of Thailand on the Outstanding Library. Year 2021. (in Thai)

Ministry of Education. (2003). National Education Act 1999 and Its Amendments. (No. 2), B.E. 2545. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)

Namthongton, A. (2013). The Development of Learning Management Competency Indicators of Basic Education Institution Administrators. Doctoral Dissertation, Naresuan University. (in Thai)

Office of Non-formal Education and Informal Education. (2021). Policies and Emphasis. Fiscal Year 2021. (in Thai)

Office of Non-formal Education and Informal Education. (2022). Policies and Emphasis. Annual Fiscal Year 2022. Ministry of Education. (in Thai)

Office of Non-formal Education and Informal Education. (2023). Policies and Emphasis. Annual Fiscal Year 2023. Ministry of Education. (in Thai)

Office of Non-Formal Education and Informal Education. (2022). Public Library Standards. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)

Puangok, A. (2020). Developing Strategies of Public Libraries in Sisaket Province to Thailand 4.0. Journal of Humanities and Social Sciences. 18(2): 69-86. (in Thai)

Thapwattana, V. (2014). A Study of Good Practices in Moral and Ethical Development for Students in Affiliated School Secondary Education Service Area Office Phichit Province. Master's thesis in Educational Administration, Naresuan University. (in Thai) Thongdaeng, P. (2021). Best Practice of Academic Administration in Developing English for Communication Skills in Schools under Pitsanulok Primary Educational Service Area Office 3. Master's thesis in Educational Administration. Uttaradit Rajabhat University. (in Thai)