รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต2 Academic Administration Model for Upgrading Achievement of Students in Expanding Opportunities Under the Nan Primary Education Service Area Office2

Main Article Content

ชรินทร์ทิพย์ พิสุทธ์ธนาสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต2  และ2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต2  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 33 คน หัวหน้างานวิชาการหรือครูวิชาการโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 33 คน โดยใช้กลุ่มประชากรทั้งหมด และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 3 คน หัวหน้างานวิชาการหรือครูวิชาการโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 3 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive Sampling)


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตรประกอบด้วย 1) ประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตร 2) กำหนดเป้าหมาย ภารกิจและวิสัยทัศน์ 3) จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 4) วางแผนการนำหลักสูตรไปใช้ 5) นำหลักสูตรไปใช้ 6) ประเมินผลการใช้หลักสูตร และ7) ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ทั้งนี้หลักสูตรสถานศึกษาต้องสอดคล้องกับบริบทชุมชน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ความต้องการของผู้เรียน และ สถานการณ์โลกในปัจจุบัน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ประกอบด้วย 1) จัดอบรมเกี่ยวกับการผลิตสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี 2) จัดสรรงบประมาณในการผลิตสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเพียงพอ 3) จัดทำทะเบียนการผลิตสื่อ และ4) มีการประกวดห้องเรียนคุณภาพ ทั้งนี้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีควรมีความทันสมัย น่าสนใจ พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เหมาะสมกับผู้เรียนทุกวัย และสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีต้องก่อให้เกิดทักษะในการดำรงชีวิตของผู้เรียน ด้านการนิเทศฯ กำกับ และติดตาม ประกอบด้วย 1) ประชุมชี้แจงเพื่อให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนทุกคนเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง 2) วางแผนการนิเทศ กำกับและติดตาม ตามโครงการนิเทศภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ 3) ดำเนินการนิเทศ กำกับ และติดตามอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง และ4) สะท้อนผลการนิเทศ กำกับและติดตาม ทั้งนี้การนิเทศ กำกับและติดตามต้องได้รับการกำกับ ดูแล ช่วยเหลือจากศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีเครื่องมือและตารางการนิเทศที่ชัดเจน และมีลักษณะการนิเทศที่หลากหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buayok,P. (2021). “Academic Administration Model for Enhancing

Achievenment of School Under Suratthani City Municipality Suratthani

province”, Journal of Graduate research. 12(1): 15-29.

Bunyoprakan, A. (2019). Academic Administration Model of Magnet

Schools under the Office of Uttaradit Primary Education Service Area

Office 1. Thesis Educational Administration : Uttaradit Rajabhat

University.

Busarakoon,T and Tapaneeyasub,P. (2021). “Guidelines for the

Development of Academic Administration in Schools, Expanding

Educational Opportunities Under the Primary Education Service Area

Office Samutsakhon”. Valaya Alongkorn Review (Humanities and

Social Science). 11(2) : 77-90.

Chamnan, E. (2021). Guidelines for Academic Administration to Improve

Learning Achievement of Students of Schools in Highland Areas under

Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3. Thesis

Educational Administration : Uttaradit Rajabhat University.

Nan Primary Educational Service Area Office. Action Plan 2021. Ministry of

Education.

Office of the Education Concil. National Education Plan 2017 -2036. Ministry

of Education.

Hongthong, P. (2019). An Academaic Management Model of Edocational

Institutions in Bangkok for Developing Executive (EF) of Early Chidhood.

Thesis Educational Administration : North Bangkok University.

Promyam, Y. (2019). Acadamic Administation of Education institution

Administrators in Bang Bua Thong District under Nonthaburi

Primary Education Service Area Office 2. Thesis Educational

Administration : Rajamangala University of Technology Thanyaburi.