ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายปฏิบัติการ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Main Article Content

ศิริพัสตร์ ถาอ้าย
ปิยาภรณ์ ณ เชียงใหม่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการยื่นขอดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายปฏิบัติการ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น 3) ศึกษาแนวทางการวางแผนพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรสายปฏิบัติการกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มตัวอย่าง 215 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-Test One Way ANOVA ผลวิจัยพบว่า 1) บุคลากรส่วนใหญ่มีภาระงานประจำมาก จึงไม่มีแรงจูงใจในการทำผลงานเพื่อยื่นขอดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ไม่มีความเข้าใจในข้อบังคับว่าด้วย การกำหนดระดับตำแหน่งและ
การแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขาดความรู้และทักษะในการเขียนผลงานเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ งานวิจัย จึงทำให้ไม่มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่มีที่ปรึกษาหรือระบบพี่เลี้ยง บุคลากรบางรายเพิ่งได้รับการบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยประจำหรือเปลี่ยนสถานะภาพจากพนักงานมหาวิทยาลัยชั่วคราวเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยประจำ จึงมีอายุงานและฐานเงินเดือนขั้นต่ำไม่ถึงเกณฑ์การขอดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น บางหน่วยงานขาดงบประมาณสนับสนุนในการทำวิจัย งานเชิงวิเคราะห์ หรือสังเคราะห์
ไม่มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรยื่นขอดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น บุคลากรจึงไม่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับ
การกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น มี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านเจตคติต่อวิชาชีพ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ ด้านแรงจูงใจใฝ่อำนาจ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านนโยบายคณะ 3) แนวทางการวางแผนพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนให้สามารถขอดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น คือ มีนโยบาย ผลักดัน สร้างแรงจูงใจ และปรับคุณสมบัติผู้ต้องการกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Best, John W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall, Inc.

Duangnga, P. (2019). “Readiness to produce academic work to apply for a higher position of Maejo University academic support staff Chiang Mai Province”, School of Administrative Studies Academic Journal. 2(4), 1-10. (in Thai)

Klaphachan, P. and Butsuthiwong, P. (2007). Human resource management = Human resource management. Bangkok : K. Phonphim. (in Thai)

Meechai W., and Promlak L. (2022). The Study of Motivation Factors Affecting Readiness to Operation Personnel of Srinakharinwirot University. Journal of Educational Measurement Educational and Psychological Test Bureau. 39(106), 307-318.

Mc Cleland, David C (1953). The Achievement Motive. New York : Appleton Centurycrofts.

Nimanong N. (2023). Factors related to self-development of personnel under the Suphanburi Provincial Public Health Office. Journal of Public Health and Innovation, 3(1), 32-45.