แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลของโรงเรียนขยายโอกาสกลุ่มเครือข่ายเนินมะปราง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในโรงเรียนขยายโอกาสกลุ่มเครือข่ายเนินมะปรางสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 13 คน ครู จำนวน 227 คน รวม 240 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง 2) เพื่อหาแนวทางการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน ครูหัวหน้างานกิจการนักเรียน จำนวน 2 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 9 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์ข้อที่ 1) สภาพปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนพัฒนาทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล ทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตในยุคดิจิทัล พบว่า 1) ด้านงานกิจการนักเรียน โรงเรียนควรสำรวจความต้องการของนักเรียนและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เสนอเนื้อหาที่ตนเองเน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม 2) ด้านงานส่งเสริมวินัย/คุณธรรม โรงเรียนควรส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ฝึกระเบียบวินัย/การแต่งกาย ทรงผม คุณธรรม ความเสียสละ 3) ด้านงานระบบดูแลช่วยเหลือ โรงเรียนควรให้ความสำคัญกับการเยี่ยมบ้าน และเสริมการสร้างภูมิคุ้มกัน แก้ไขปัญหาของนักเรียนผ่านทางกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต 4) ด้านงานสวัสดิการนักเรียน โรงเรียนควรอำนวยความสะดวกในกับนักเรียนทั้งในด้านสภาพแวดล้อม สาธารณูปโภคที่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน และจัดซื้อจัดหาเวชภัณฑ์พื้นฐานให้กับนักเรียน 5) ด้านงานส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนโรงเรียนควรดำเนินโครงการที่มุ่งสอนหลักการและคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมถึงสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองที่ถูกต้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
Athittang, K. (2022). Guidelines for student affairs administration in educational institutions under the office Educational area Nakhon Sawan Secondary School. Master's degree thesis: Nakhon Sawan Rajabhat University. (In Thai)
Boondok, W. (2016). Conditions and problems of student affairs administration at Wat Nong Chok Secondary School Under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office Area 2. Master's degree thesis: Burapha University. (In Thai)
Chaibin, N. (2018). Administrative Factors Affecting Operational Effectiveness of Democracy-Enhancement and Promotion Activities in Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 20. Master of Education thesis: Sakonnakhon Rajabhat University. (In Thai)
Ketrat, S. (2018). Student affairs administration of Triam Udom Suksa Pattanakarn Ratchaburi School. Master of Science Degree: Silpakorn University. (In Thai)
Ministry of Education (2008). Guidelines for organizing student development activities according to the corecurriculum Basic education: Ministry of Education. (In Thai)
Munthongchad, K. (2021). Student care and support system performance of Watudomrangsee School. Master's degree thesis: Silpakorn University.
Phailomtel, P. (2019). Student Affairs Administration of Wat Nimmanoradee School, Master of Education thesis: Rajabhat University. (In Thai)
Saengsutthi, T. (2023). Guidelines for student affairs administration in small schools Under the Khon Kaen Primary Educational Service Area Office Area 5. Journal of Buddhist Studies: Northeastern University.
Saensuk, R. (2023). Guidelines for participatory student affairs management of small schools under the Uttaradit Primary Educational Service Area Office Area 1. Master's degree thesis: Uttaradit Rajabhat University. (In Thai)
Sawaengbun, T. (2021). Student affairs administration at Pathumratchawongsa School Under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office Area 29. Master's degree thesis: Rajathani University. (In Thai)
Sombat, S. (2019). A study on sexuality education literacy and life skills among teenagers
aged 10-19 years. Bureau of Reproductive Health Department of Health: Ministry of Public Health. (In Thai)
Thongchua, P. (2021). A Study of Student Affairs Administration Problems in Schools under The Local Administrative Organization in Nakhon Sawan. Master of Education thesis: Nakhon Sawan Rajabhat University. (In Thai)
Thungploy, N. (2021). Development of a school student affairs management manual Under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office District 11 in Surat Thani Province. Master's Thesis: Surat Thani Rajabhat University. (In Thai)