ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนชายขอบ จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ไธพัตย์ สุนทรวิภาต
สุชาติ ลี้ตระกูล
ทศพล อารีนิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนชายขอบจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการศึกษาของโรงเรียนชายขอบ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนชายขอบ (3) การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนชายขอบ (4) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความสอดคล้องและประโยชน์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนชายขอบ การศึกษาครั้งนี้ใช้ประชากรคือครู และผู้ปกครองโรงเรียนชายขอบ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 380 คน แล้วกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) จากจำนวน 5 โรงเรียนใน 3 ตำบลของตำบลที่อยู่ใกล้กับด่านอำเภอแม่สายและเปิดตาราง Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง 127 คน ครูจำนวน 127 คน นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังใช้ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาในพื้นที่ชายขอบเพื่อทำการสนทนากลุ่มจำนวน 5 คน และใช้ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาประเมินความเป็นไปได้อีกจำนวน 5 คนเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการจัดการศึกษาของโรงเรียนชายขอบจังหวัดเชียงรายจะอยู่ในเกณฑ์ระดับมากเกี่ยวกับเรื่อง ด้านสภาพสังคมวัฒนธรรม (โรงเรียน และชุมชน) ด้านตัวผู้สอน และด้านตัวผู้เรียน ส่วนด้านตัวผู้ปกครองพบว่ามีเกณฑ์อยู่ระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนชายขอบพบว่าตัวพยากรณ์คุณภาพการจัดการศึกษาที่มีผลการทำนายสูงคือปัจจัยด้านบรรยากาศการจัดการเรียนการสอน ด้านตัวผู้สอน และด้านตัวผู้เรียน เมื่อทำการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนชายขอบพบว่ามี 3 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาภายใต้กระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูในพื้นที่โรงเรียนชายขอบ และยุทธศาสตร์การพัฒนาจิตลักษณะบางด้านของผู้เรียนในพื้นที่โรงเรียนชายขอบ ส่วนการประเมินความเป็นไปได้สอดคล้องเหมาะสมและเป็นประโยชน์นั้นพบว่ายุทธศาสตร์ดังกล่าวทั้ง 3 ประการมีความสอดคล้องกับแนวนโยบาย จุดมุ่งหมาย เป้าหมายของเทศบาลตำบลแม่สายและสำนักงานจังหวัดเชียงราย เมื่อพิจารณาวิธีการและเกณฑ์การประเมินพบว่ามีความเป็นไปได้เหมาะสมกับสภาพในพื้นที่ชายขอบอีกทั้งยังจะเกิดประโยชน์โดยตรงกับโรงเรียน ประชาชนของพื้นที่เขตเทศบาลตำบลแม่สาย และบริเวณชายขอบอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

 

Strategic Development for Educational Quality Management of the Marginalized School Chiang Rai Province

This research entitled “Strategic Development for Educational Quality management of the marginalized school Chiang Rai Province aimed to (1) study the problems with the management of marginalized school. (2) define the factors affecting the development of educational quality management of the school. (3) specify the strategies for educational quality management of the marginalized school and (4)assess the feasibility appropriations compatibility as well as the benefits of the strategic development of the educational management of the marginalized schools at Chiang Rai Province. The research population were teachers and parents as 380 persons. The samples were drawn by purposive sampling and adopted Krejcie and Morgan Method totally 127 teachers and 127 parents. In this research, focus group discussion of five educational experts in the study area was also conducted for evaluation of strategic feasibility among five schools in the marginalized area. The research instruments were structured questionnaires with 5 scales and data was analyzed by using means, standard deviations, and multiple regression.

The study results were as follows. (1)Regarding the Problems of educational management at the marginalized school at Chiang Rai Province it was found that the problems were at a high level related to the social and cultural aspects concerning the teacher and students whereas the problems related to parent were at a moderate level.(2) The Factors affecting the development of educational quality management of the marginalized school at Chiang Rai Province showed that the variables of atmosphere learning and teaching management, teachers and learners were related to the educational quality management of the marginalized school. Moreover, it could predict the educational quality management. (3)The strategies for developing the education quality management of the marginalized schools at Chiang Rai Province consisted of three intentions: promoting the relationship between family, school and community in the area, developing the educational quality management under the teaching and learning management process of the teacher and developing some of the student’s mental characteristics. (4) Regarding the assessment of the strategic development for educational quality management of the marginalized schools at Chiang Rai Province, it was found that all three strategies were related to the policy, goals and objectives of Mae Sai Municipality and the Chiang Rai Provincial Office. When consideration of operation method and evaluation, those three strategies were possible and suitable to the marginalized, in addition, they were directly beneficial to schools, the people in Mae Sai Municipality and marginalized areas of Mae Sai District, Chiang Rai Province.

Article Details

บท
บทความ