กลวิธีส่งเสริมคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชนตามแนวจิตตปัญญาศึกษา

Main Article Content

อำไพพรรณ์ เอกอาภรณ์ภิรมย์
เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท
สนิท สัตโยภาส
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชนในจังหวัดเชียงราย เพื่อสร้างกลวิธีส่งเสริมคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชนตามแนวจิตตปัญญาศึกษา และเพื่อศึกษาผลการใช้กลวิธีส่งเสริมคุณลักษณ์ ทางสังคมของเยาวชนตามแนวจิตตปัญญาศึกษาประชากร กลุ่มที่ 1 สำหรับศึกษาคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชน ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 จังหวัดเชียงราย กลุ่มที่ 2 สำหรับศึกษาผลการพัฒนากลวิธีส่งเสริมคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชนตามแนวจิตตปัญญาศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แบบประจำกินนอนในจังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชน กลวิธีส่งเสริมคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชนตามแนวจิตตปัญญาศึกษา และแบบสอบถามความพึงพอใจของเยาวชนต่อกลวิธีส่งเสริมคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชนตามแนวจิตตปัญญาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) 

ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนในจังหวัดเชียงราย มีการปฏิบัติตามคุณลักษณ์ทางสังคมในระดับมาก ได้กลวิธีส่งเสริมคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชนตามแนวจิตตปัญญาศึกษา 4 กลวิธี กลวิธีที่ 1 การวิเคราะห์ตนเองและเข้าใจผู้อื่น มี 2 กิจกรรม กลวิธีที่ 2 การสร้างปัญญาด้วยสมาธิ มี 7 กิจกรรม กลวิธีที่ 3 การทบทวนและพัฒนาตนเอง มี 4 กิจกรรม และกลวิธีที่ 4 การติดตามและประเมินผล มี 1 กิจกรรม และคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณ์ทางสังคมหลังการใช้กลวิธีส่งเสริมคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชนตามแนวจิตตปัญญาศึกษาสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001  อีกทั้งนักเรียนยังมีความพึงพอใจต่อกลวิธีส่งเสริมคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชนตามแนวจิตตปัญญาศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นกลวิธีส่งเสริมคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชนตามแนวจิตตปัญญาศึกษามีความเหมาะสมในการนำไปใช้พัฒนาคุณลักษณ์ทางสังคมของเยาวชน

 

On-Going  Strategies  for  Promoting  Youth’s  Mental  Intelligence-Based Social  Identity

The objectives of this study were: 1) to investigate social characteristics of youths in Chiang Rai Province; 2) to construct strategies for promoting social charateristics of youths based on Contemplative Education; and 3) to examine implementating outcome of strategies for promoting social characteristics of youths based on Contemplative Education. There were two groups of population in the research. Group 1, for investigation of social characteristics of youths, was M.4 students from schools under Chiang Rai Secondary Educational Service Area Office 36 in the 2014 academic year. Group 2, for examination of implementing outcome of strategies for promoting social characteristics for youths based on Contemplative Education,  was M.4 students from boarding schools in Chiang Rai Provice which provided education from Primary Grade 1 to Secondary Grade 12. Research instruments were evaluation form for examining social characteristics of the youths, strategies for promoting social characteristics of the youths based on Contemplative Education, and questionnaire for investigating satisfaction of the youths towards strategies promoting social characteristics of the youth based on Contemplative Education. The data was analyzed by using mean, standard deviation, and dependent t-test.

The findings showed that the youths in Chiang Rai Province adhered social characteristics at the high level. Therefore, four strategies for promoting social characteristics based on Contemplative Education were constructed.

Strategy 1 was self-analysis and understanding others, and composed of two activities. Strategy 2 was wisdom enhancement with meditation, and consisted of seven activities. Strategy 3 was self-reflection and self-development, and constituted four activities. Last but not least, strategy 4 was monitoring and evaluation, and proposed one activity. After implementing strategies for promoting social characteristics of the youths based on Contemplative Education, the post- test mean score of students’ social characteristics was higher than the pre-test mean score, and the difference was statistically significant at the .001 level. In addition, students reported the highest level of satisfaction towards the stratgies for promoting social characteristics of the youths based on Contemplative Education.

Article Details

บท
บทความ