การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3

Main Article Content

อมร สวัสดิ์รักษ์
เพ็ญพิศุทธิ์ ใจสนิท
คมสัน รัตนะสิมากูล
เสาวลักษณ์ รัตนชูวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับข้อมูลจากสื่อของนักเรียน พฤติกรรมการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียน และเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียน ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ประชากรที่ใช้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 สำหรับศึกษาพฤติกรรมการรับข้อมูลจากสื่อ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3  ปีการศึกษา 2557  โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 กลุ่มที่ 2 สำหรับศึกษาผลการพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียน ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนชุมชนบ้านวังจ๊อม อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามเรื่องการรับรู้และการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนและชุดกิจกรรมส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการรับข้อมูลจากสื่อดังนี้ ด้านความถี่ในการรับข้อมูลจากสื่อแต่ละประเภท ลำดับตามชั่วโมงการรับข้อมูล พบว่า ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต นักเรียน ร้อยละ 41.00 มีการรับข้อมูล 3–4 ชั่วโมง มากที่สุด ประเภทสื่อโทรทัศน์ นักเรียนร้อยละ 69.75 มีการรับข้อมูล 1–2 ชั่วโมง มากที่สุด ประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ นักเรียน ร้อยละ 61.00 มีการรับข้อมูล น้อยกว่า 1 ชั่วโมง มากที่สุด ด้านรูปแบบในการรับข้อมูลจากสื่อแต่ละประเภทมากที่สุดลำดับตามค่าร้อยละ พบว่า ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต นักเรียน ร้อยละ 91.75 เปิดรับสื่อคนเดียว ประเภทสื่อโทรทัศน์ นักเรียน ร้อยละ 85.25 เปิดรับสื่อกับครอบครัว ประเภทสื่อหนังสือพิมพ์ นักเรียน ร้อยละ 47.25 เปิดรับสื่อคนเดียว ด้านช่วงเวลาในการรับข้อมูลจากสื่อแต่ละประเภทมากที่สุดลำดับตามค่าร้อยละ พบว่า ประเภทสื่อโทรทัศน์ นักเรียน ร้อยละ 64.75 รับข้อมูลจากสื่อ ช่วงเวลาระหว่าง 14.01–18.00 น. ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต นักเรียน ร้อยละ 36.50 รับข้อมูลจากสื่อ เวลาอื่นๆ สื่อหนังสือพิมพ์ นักเรียน ร้อยละ 36.25 รับข้อมูลจากสื่อ ช่วงเวลาระหว่าง 10.01–14.00 น. และด้านเหตุผลในการรับข้อมูลจากสื่อของนักเรียน อันดับแรก คือ เพื่อความบันเทิง รองลงมา ได้แก่ ทำให้สังคมยอมรับ และเพื่อแสวงหาข้อมูลข่าวสา นักเรียนมีการรู้เท่าทันสื่อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมาก และการพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาได้ชุดกิจกรรมส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียน 4 ด้าน จำนวน 9 กิจกรรม ประกอบด้วย ด้านการเข้าถึงสื่อ มี 1 กิจกรรม ด้านการวิเคราะห์สื่อ มี 3 กิจกรรม ด้านการประเมินค่าสื่อ มี 3 กิจกรรม และด้านการใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ มี 2 กิจกรรม ซึ่งนักเรียนมีการรู้เท่าทันสื่อหลังทดลองใช้ชุดกิจกรรม อยู่ในระดับปฏิบัติมาก สูงกว่าก่อนทดลองใช้ชุดกิจกรรม อยู่ในระดับปฏิบัติปานกลาง

 

Development of Learning Package Promoting Media Literacy of Students in  Educational Opportunity Schools under Chiang Mai Primary Educational

The objectives of this study were: 1) to investigate students’ behavior in receiving information from media; 2) to study students’ behavior in media literacy; 3) to develop learning package promoting media literacy of students in educational opportunity expansion schools under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3. The population was divided into two groups. Group 1 for investigation of behavior in receiving information from media was M.1 – M.3 students from educational opportunity expansion schools under Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 3 in the academic year of 2014. Group 2 for investigation of outcome of the development of learning package promoting media literacy of students was M.3 students from Wang Jom Community School, Chiang Dao, Chiang Mai Province in the academic year of 2014. Research instruments were questionnaire investigating perception and media literacy of students and learning package promoting media literacy of students. Data was described in percentage, mean, and standard deviation.

The results were as follows. Students’ behavior in receiving information from media in regard to frequency in receiving information from each type of media, the findings showed that 69.75% of students consumed information from television and 1 – 2 hours was the most frequency; 61% of students read newspaper and less than one hour was the most frequency; and 41.00% of students searched information from Internet and 3 – 4 hours was the most frequency. According to patterns in receiving information from each type of media, ranking by the percentage, the findings revealed that 91.75% of students preferred surfing Internet alone; 85.25% of students would like to see television with family; and 47.25% of students loved to read newspaper alone. For the proper time in receiving information from each type of media, ranking by the percentage, the findings demonstrated that 64.75% of students chose to watch TV during 14.01-18.00; 36.25% of students preferred to read newspaper during 10.01-14.00; while 36.50% of students surfed Internet for other available time of the day. Regarding reasons for students to receive information from media, the first in the rank was entertainment and pleasure. The subsequent were socialization and information search. Students’ media literacy, in overall, was rated at the high level. Furthermore, the developed learning package to promote media literacy for students in educational opportunity expansion school covered four dimensions with nine activities included one activity for media access, three activities for media analysis, three activities for media evaluation, and two activities for media utilization. Last but not least, implementation of the developed learning package, the findings displayed that after the learning package was carried out, the students’ media literacy was at the high level and it was higher than the trail-out which students’ media literacy was at the moderate level.

Article Details

บท
บทความ