กลยุทธ์การพัฒนาครูโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

กฤตเมธ บุญนุ่น
วีรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาล
ปรีชา สามัคคี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินการใช้กลยุทธ์การพัฒนาครูโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์กลยุทธ์โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน ทดลองใช้กลยุทธ์ในโรงเรียนกาญจนศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช และนำกลยุทธ์ที่เหมาะสมไปใช้ในโรงเรียนปัญญาทิพย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมินความสอดคล้องของเนื้อหา แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ของครู คู่มือกลยุทธ์การพัฒนาครูโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาครูมี 3 กลยุทธ์ด้วยกันคือ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาสมรรถนะของครูให้มีความพร้อมและเหมาะสมกับวิชาชีพครูในแต่ละกลุ่มสาระ มี 7 ตัวบ่งชี้คือ กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนครอบคลุมหลักสูตร วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เลือกใช้วิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการวัดและประเมินผล สามารถให้คำแนะนำ ปรึกษา และมีการศึกษาวิจัย กลยุทธ์ที่ 2 สร้างความยั่งยืนขององค์การ ตัวบ่งชี้คือ มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตัวบ่งชี้คือ ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างเป็นสมาชิกที่ดีของสถานศึกษา ผลการนำกลยุทธ์ไปใช้ พบว่า กลยุทธ์ที่ 1 และกลยุทธ์ที่ 3 ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งตัวบ่งชี้และเกณฑ์การพิจารณา ส่วนกลยุทธ์ที่ 2 เมื่อนำไปใช้มีผลต่อการพัฒนาครูในระดับปานกลางทั้งตัวบ่งชี้และเกณฑ์การพิจารณา

 

Strategy for Development Private School Teacher in the Basic Education

The purposes of this study were to develop the straegies and to evaluate implementation of the strategies for developing teachers in private basic education schools. Seven experts validated the developed strategies. The developed strategies were tried-out at Kanchanasuksa School, Nakhon Srithammarat Province, while the revised version of the strategies were implemented at Panyathip School, Suratthani Province. Research instruments were content congruence validation form, teacher’s instructional management evaluation form, and handbook for implementing strategies for developing teachers in private basic education schools. Percentage, mean and standard deviation were used for statistical data analysis.

The findings showed that:Three strategies were reported suitable for implementation. Strategy 1 was development of teachers’ competence for readiness and appropriation with the subject matter. This strategy contained seven indicators including: 1) Set goals for developing the learners harmoniously with the curriculum; 2) Assess the learners individually; 3) Choose effective teaching method; 4) Use appropriate media and technology; 5) Employ assessment and evaluation; 6) Provide guidedance and consultation; 7) Undertake research studies. Strategy 2 was building of the organizational sustainability which contained one indicator that was to adopt an evaluation of learners’ performance. Strategy 3 was development of morality and ethics which contained one indicator that was to act as role model for the educational instituation.

The results of strategies implementation revealed that Strategy 1 and Strategy 3 were held high level of the evaluation score covering the indicators and judgement criteria. While Strategy 2 was implemented, the results was reported at the moderate level in regard to the indicator and judgement criteria.

Article Details

บท
บทความ