กลยุทธ์การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ นำเสนอการวิเคราะห์องค์ประกอบความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบัณฑิต 2) ประเมินความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบัณฑิต และ 3) พัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมในการพัฒนาความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบัณฑิต กลุ่มประชากรที่ศึกษาได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในสาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการจัดการสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 4 และ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนบน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ โดยในการศึกษาวิจัยได้เก็บรวบข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 256 คน นอกจากนี้ยังเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการประชุมระดมสมองร่วมกับแบบประเมินสภาพแวดล้อมและแบบประเมินกลยุทธ์การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ผู้บริหารและคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนบน 22 คน สถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่าผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัว เมื่อพิจารณาจาก ค่าไคสแควร์ เท่ากับ 67.49ที่องศาอิสระเท่ากับ 67 ค่า p เท่ากับ 0.46 ดัชนี GFI เท่ากับ 0.97 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.005 และค่า AGFI เท่ากับ 0.93 พบว่า ตัวแปรคิดประยุกต์ คิดวิเคราะห์ คิดบูรณาการ คิดสังเคราะห์ คิดวิพากย์มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบความสามารถในการคิด โดยมีน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.92 ตัวแปร ความรู้ การควบคุมตนเอง การตระหนักในการรู้คิด มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการรู้คิดโดยมีน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.92 และตัวแปร: อยากรู้อยากเห็นมีเหตุมีผลใจกว้างซื่อสัตย์มุ่งมั่นรอบคอบรับผิดชอบร่วมมือช่วยเหลือสร้างสรรค์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กับความสามารถด้านจิตวิทยาศาสตร์ โดยมีน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.82 ผลการประเมินความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนบน พบว่า ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนบนที่อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง ได้แก่ การคิดบูรณาการ การคิดวิพากย์ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การตระหนักในการคิด และการควบคุมตนเอง ผลการพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนบน พบว่าสภาพการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ขาดการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการลงมือแก้ปัญหา แสวงหาความรู้ฝึกฝนทักษะการค้นหาความจริง และร่วมกันวิพากษ์ผลงานเพื่อการปรับปรุงขาดการบูรณาการด้านการเรียนการสอนกับการวิจัย ในขณะที่สถาบันการศึกษามีเครือข่ายความร่วมมือด้านการจัดการศึกษากับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศและมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนดังนั้น กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนบน คือ กลยุทธ์ในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการนำศาสตร์ที่ศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาร่วมกับชุมชน ประกอบ ด้วย 4 กลยุทธ์ 38 มาตรการ 11 ตัวชี้วัด ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1: พัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานและใช้วิจัยเป็นฐาน ในการพัฒนาความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลยุทธ์ที่ 2: พัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบไอทีเป็นฐานในการพัฒนาบทเรียน (Ubiquitous Learning) กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยใช้ปัญหา/แหล่งข้อมูลจากชุมชนในการพัฒนาความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Service Based, Service Science) และกลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถาบันการศึกษา/องค์กรชุมชน/ผู้ประกอบการในท้องถิ่น (Community Base, Social Problem Based)
On the Science and Technology Competitiveness Development Strategies: A Case Study of Undergraduate Students in the Upper Northern Rajabhat Universities
The research objectives were: 1) the study of factors influencing the competitiveness on the science and technology (S&T) of undergraduate students; 2) the assessment on S&T competencies; and 3) the strategic development on the S&T competitiveness. The procedure of this dissertation was comprised of quantitative and qualitative research method. The population under the study consisted of the third, fourth and fifth year students studying in the fields of S&T at the upper northern Rajabhat universities including Chiang Mai Rajabhat University, Chiang Rai Rajabhat University, Lampang Rajabhat University, and Uttaradit Rajabhat University. The sample size was 256 students who were responded the questionnaire survey. In addition, 22 faculty members and academic administrators were collected the informative data via brainstorming meeting under SWOT analysis and strategic assessment. The statistics used in data analysis were Descriptive Statistics, Inferential Statistics, and Confirmatory Factor Analysis.
According to the research result, the factor analysis results showed that the competencies of graduates in S&T consisted of 18 elements. Moreover, the model employed analysis was congruence with empirical data at a high degree by chi-square = 67.49, df = 67, p-value = .46, GFI = .97, RMSEA = .0005, and AGFI = .93 successively. Furthermore, details of the analysis indicated that the idea (applied, analysis, integration, synthetic and critical) was related to S&T competencies by the weighting factor of 0.92; while the cognition (knowledge, self-control and the awareness of cognitive) was related to S&T competencies by the weighting factor of .92; and the science attitude (curiosity, reasoning, generosity, honesty, reasonability, responsibility, commitment, creativity, cooperation and attitude towards science) was related to S&T competencies by the weighting factor of .82.
The assessment was conducted by group discussion in order to develop S&T competitiveness strategies for undergraduate students. It was noted that the Rajabhat universities were strongly networking with local communities. As a result, the appropriate strategies should allow us to bring the theory taught in class to local communities. Therefore, the four main strategies were suggested during the brainstorming session with 38 guidelines and 11 key performance indicators. The first was to apply Problem-Based Learning or Research-Based Learning in the classroom. The second was to use digital media in learning and teaching. The third was to elaborate PBL class based on the real problems/information from local communities. Finally, the forth was to develop study courses together with communities and local entrepreneurs.
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์