การพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาปัจจัยและหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาเชิงสร้างสรรค์กับการสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาเชิงสร้างสรรค์ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ นักเรียน ครูและผู้ปกครอง ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบนรวมทั้งสิ้น 1,145 คน กลุ่มทดลอง คือนักเรียนโรงเรียนแม่ฮ่างวิทยา จำนวน 16 คน กลุ่มควบคุม คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านสบพลึง จำนวน 17 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แผนการจัดกาเรียนการสอน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression) และการทดสอบค่าที (t-test independent)
ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษและผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่ ปัจจัยด้านจิตวิทยาคือ เจตคติต่อครูผู้สอน และ เจตคติต่อรายวิชาภาษาอังกฤษ ปัจจัยด้านผู้เรียน คือวินัยในการเรียนของผู้เรียนและกลวิธีในการเรียน ปัจจัยด้านครอบครัว คือความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ปัจจัยด้านผู้สอน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และคุณภาพการสอนของครู และปัจจัยด้านการเรียนการสอน คือ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษและสื่ออุปกรณ์การเรียนมีผลต่อการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ
2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยา ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านผู้สอน และปัจจัยด้านการเรียนการสอนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า ทั้ง 5 ปัจจัยมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษที่สอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาเชิงสร้างสรรค์ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษที่สอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาเชิงสร้างสรรค์ มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
A Development of Pedagogy for Increasing Achievement in English Language Learning of Grade 9 Students in Expanding Educational Opportunity Schools in the Upper Northern
The purposes of the study were: 1) to investigate the factors and its relationship with increasing achievement of English language learning among grade 9 students in educational opportunity expansion schools in the upper northern area; 2) to compare the achievement of English language learning between grade 9 students who learned English under the creative instruction, and conventional instruction; and 3) to compare the achievement of English language learning between pre-learning and post-learning of grade 9 students who learnt English under the creative instruction. The respondentswere1,145of grade 9 students, teachers and parents in educational opportunity expansion schools in the upper northern area. The experimental group was one intact classroom at Maehang withaya School which contained16 students and the control group was one intact classroom at Bansobplueng School which contained17 students. The samples were obtained by simple random sampling. The employed research instruments were the interview, the questionnaire, learning management plans and th eachieve menttest. The statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation, stepwise multiple regression, and t-test independent.
Research findings were as follows.
1.The factors that affected to increasing achievement of English language learning was psychological factorsin the dimension of attitude toward English teacher and attitude toward English language, students’ factors in the dimension of habits in learning English and English learning strategies, family factors in the dimension of interrelationship within family and culture well-being, teachers’ factors in the dimension of interrelationship between teacher and student and quality of teaching learning, and pedagogy factors in the dimension of the promotional activities to use English language and media & equipment.
2. In regard to the relationship with achievement of English language learning, the factor of psychology, students, family, teachers and pedagogy were related to achievement increment of English language learning with statistical significance at the .01 level.
3. Learning achievement of the students who learned under the creative teaching English was higher than the students who learned under conventional instruction with statistical significance at the .01 level.
4. Learning achievement of students who learned under the creative teaching English revealed that the post-learning scores was higher than the pre-learning scores with statistical significance at the .01 level.
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์